สิทธิผู้ประกันตน กรณีคลอดบุตร

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์หรือเตรียมตัวจะคลอดบุตรเร็ว ๆ นี้ อย่าลืม! ใช้สิทธิ์ประกันสังคมสำหรับเบิกค่าคลอดบุตรและค่าสงเคราะห์บุตรได้นะคะ 

คลอดบุตรเบิกประกันสังคมได้  เบิกประกันสังคม กรณีคลอดบุตร 

 

8 ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเต้านมในขณะตั้งครรภ์ - พบแพทย์

 

เมื่อพูดถึงสิทธิประกันสังคมเราจะคุ้นเคยกับการใช้สิทธิ์ในกรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ แล้วสามารถเข้ารักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายกับโรงพยาบาลที่เลือกใช้สิทธิ์ไว้ รวมถึงเบิกเงินทดแทนในกรณีว่างงาน แต่สำหรับคุณแม่ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตรสามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมเบิกค่าคลอดบุตรและค่าสงเคราะห์บุตร โดยมีรายละเอียดดังนี้

-ค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่าย 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง
-ค่าสงเคราะห์บุตร เดือนละ 600 บาท ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี เบิกได้ครั้งละไม่เกิน 3 คน
-เงินสงเคราะห์หยุดงานเพื่อการคลอดบุตรแบบเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน ยกเว้นการคลอดบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิ์เงินสงเคราะห์การหยุดงาน

คุณแม่คลอดบุตร คุณพ่อก็เบิกประกันสังคมได้

ทารก, ผิวขาว, เด็ก, ลูกสาว, ครอบครัว, พ่อของ, สาว

ภาพที่ได้รับการสนับสนุน  

 

การคลอดบุตรไม่ใช่แค่เรื่องของคุณแม่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น เพราะทางฝ่ายคุณพ่อก็มีสิทธิ์ได้รับเงินคลอดบุตรแบบเหมาจ่าย 13,000 บาท/ครั้ง และเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 600 บาท ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี จากประกันสังคมเช่นเดียวกันกับคุณแม่ โดยต้องอยู่ภายในเงื่อนไขดังนี้
-ภรรยามีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
-เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 เท่านั้น
-ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนที่ภรรยาคลอดบุตร
-กรณีคุณแม่และคุณพ่อเป็นผู้ประกันตนทั้งสองฝ่ายจะสามารถเลือกใช้สิทธิ์ประกันสังคมในการเบิกค่าคลอดบุตรได้เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ดังนั้นการเบิกประกันสังคมกรณีคลอดบุตรของฝ่ายคุณพ่อจะเหมาะสำหรับคุณแม่ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมากกว่า

เอกสารเบิกประกันสังคม กรณีคลอดบุตร

คลอดบุตรเบิกประกันสังคมได้ 

 

หลังจากคลอดบุตรแล้วคุณพ่อหรือคุณแม่สามารถเตรียมเอกสารดังนี้ เพื่อยื่นคำขอประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรได้ที่สำนักงานประกันสังคม
-แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01
-สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
-สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
-สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ 11 ธนาคาร ดังนี้ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารธนชาติ, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย, ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร