ผู้ประกอบการควรรู้ ปิดงบการเงินให้ทันตาม “ปฏิทินงานบัญชีและภาษี” หมดกังวลเรื่องค่าปรับ

 ตามกฎหมายเราจะเรียกผู้ที่ดำเนินธุรกิจ โดยมีการจดทะเบียนออกมาเป็น “บริษัทจำกัด” ว่าผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ประกอบการ กลุ่มคนเหล่านี้จะมีหน้าที่เพิ่มขึ้นมาคือการปิดงบการเงินและยื่นงบการเงินตามรอบบัญชีตามกฎหมาย ซึ่งเป็นหน้าที่ๆ ผู้ประกอบการจะต้องทำอยู่เป็นประจำทุกปี

การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่การทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และข้อมูลต่างๆ สำหรับยื่นภาษี จะต้องมีผู้ทำหน้าที่วางแผนและบริหารบัญชีต่างๆ ของบริษัทให้ เพื่อให้ทุกอย่างประสบความสำเร็จ ไม่มีอุปสรรคด้านกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการสามารถใช้บริการจากสำนักงานบัญชีคุณภาพซึ่งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการบริหารบัญชีและภาษี เนื่องจากการวางแผนและบริหารบัญชีเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ข้อมูลจะต้องมีความครบถ้วนและถูกต้อง ข้อมูลบัญชีที่เตรียมไว้จะไม่ใช่เพียงแค่ต้นทุนหรือกำไรของบริษัทเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง รายการชำระภาษี เงินสมทบประกันสังคม และอื่นๆ แล้วนำเอาไปยื่นให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย อันได้แก่กรมสรรพากร สำนักงานประกันสังคม และกรมพัฒนาการค้า

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้ถนัดในเรื่องของการทำบัญชีอยู่แล้ว โดยมากจะโฟกัสไปที่การวางแผนธุรกิจให้เกิดกำไร การดูแลสินค้า ดูแลทุน วางแผนการตลาด และเน้นกระตุ้นเพิ่มยอดขายเป็นหลัก หลงลืมไปว่ายังมีหน้าที่เกี่ยวกับบัญชีและภาษีที่ต้องทำด้วย บางรายที่รู้เรื่องการวางแผนบัญชีและภาษี ก็มองเห็นถึงความยุ่งยากวุ่นวายที่ต้องมานั่งจัดการเอกสารจำนวนมาก จึงยกเลิกการยื่นงบการเงิน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ยิ่งหลีกเลี่ยงการยื่นนานเป็นปีๆ ปริมาณค่าปรับก็จะสูงขึ้น จนถึงขั้นที่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลเพราะหมายเรียก เสียเวลาและเสียเครดิตในการไปจดทะเบียนธุรกิจต่อ หรือแม้กระทั่งปิดกิจการที่จดทะเบียนก็ยังทำได้ยาก

ด้วยเหตุนี้การได้ทำความเข้าใจในเรื่องปฏิทินงานบัญชีและภาษี จะเป็นตัวช่วยวางแผนธุรกิจในอีกระดับ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความล่าช้าในการยื่นงบประมาณด้านการเงิน ทั้งผู้ประกอบการและผู้ที่บริหารบัญชีให้บริษัท จะได้ทราบถึงภาพรวมของช่วงเวลาการยื่นงบที่ถูกต้อง ทำให้วางแผนร่วมกันได้ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมเอกสารให้ที่ปรึกษาบัญชี และขั้นตอนการปิดงบ การประชุม และยื่นงบ ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในแต่ละปีนั่นเอง

รู้จักกับปฏิทินงานบัญชีและภาษีสำหรับรอบปี พ.ศ.2561

ข้อมูลต่อไปนี้ที่กล่าวถึง คือปฏิทินงานบัญชีและภาษีที่แบ่งออกเป็นรอบเดือน จัดขึ้นสำหรับปี พ.ศ. 2561 ให้ผู้ประกอบธุรกิจได้นำเอาไปใช้วางแผนยื่นงบการเงินให้ตรงเวลา ลดความเสี่ยงการเสียค่าปรับเพราะยื่นงบล่าช้า หากใครที่กำลังดำเนินงานในรูปของบริษัทจำกัดอยู่ล่ะก็ นี่คือการแสดงให้เห็นถึงรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่เริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม ไปจนถึงสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2561 โดยจะต้องยื่นแบบแสดงรายการแต่ละประเภท ดังต่อไปนี้

เดือนมกราคม 2561 – มีเอกสารที่ต้องยื่นคือ แบบ ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54, ภ.พ. 36 กำหนดการยื่นแบบภายในวันที่ 8 มกราคมด้วยตัวเองโดยตรง (ตามจริงจะต้องยื่นภายในวันที่ 7 มกราคม แต่ว่าเป็นวันหยุดราชการ จึงเลื่อนเป็นวันที่ 8 แทน)  ส่วนใครที่ยื่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต จะต้องทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มกราคม ในปีเดียวกัน

สำหรับ ภ.พ. 30 , ภ.ธ.40 และเงินสมทบประกันสังคม จะต้องยื่นภายในวันที่ 15 มกราคม ด้วยตัวเองที่สำนักงาน ส่วนใครที่ยื่นทางอินเตอร์เน็ต จะต้องอยู่ภายในวันที่ 23 มกราคม ส่วน แบบ ภ.ง.ด. 2ก และ ภ.ง.ด. 3ก จะต้องยื่นให้ทันภายในเดือนมกราคม

เดือนกุมภาพันธ์ 2561 – กำหนดยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54, ภ.พ. 36 ภายในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ด้วยตัวเองที่สำนักงาน กรณียื่นผ่านอินเตอร์เน็ตภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ สำหรับแบบ ภ.พ. 30 , ภ.ธ. 40 และ สปส.1-10 ต้องยื่นภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ด้วยตัวเอง และกำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ส่วน แบบ ภ.ง.ด. 1ก และ ภ.ง.ด. 1ก พิเศษ ต้องแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์

เดือนมีนาคม 2561 – กำหนดการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54, ภ.พ. 36 ด้วยตัวเองภายในวันที่ 7 มีนาคม และทางอินเตอร์เน็ตภายในวันที่ 15 มีนาคม สำหรับ แบบ ภ.พ. 30 , ภ.ธ. 40 และ เงินสมทบประกันสังคม ยื่นภายในวันที่ 15 มีนาคมด้วยตัวเอง โดยมีกำหนดการยื่นทางอินเตอร์เน็ตภายในวันที่ 23 มีนาคม

เดือนเมษายน 2561 – กำหนดการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54, ภ.พ. 36 ภายในวันที่ 9 เมษายน ด้วยตัวเอง และยื่นทางอินเตอร์เน็ตภายในวันที่ 17 เมษายน การยื่นแบบ ภ.พ. 30 , ภ.ธ. 40 และ เงินสมทบประกันสังคม ภายในวันที่ 17 เมษายน ด้วยตัวเอง และทางอินเตอร์เน็ต ภายในวันที่ 23 เมษายน ซึ่งเดือนนี้ถือว่าเป็นเดือนที่ 4 ในของรอบปีการยื่นงบ ดังนั้นจะต้องทำการยื่นงบการเงินที่มีการตรวจสอบแล้วไปเสนอในที่ประชุมใหญ่ภายในสิ้นเดือนเมษายน ต่อจากนั้นให้นำบงบการเงินของปีที่แล้วนำส่งด้วยภายใน 1 เดือน นับเอาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่

เดือนพฤษภาคม 2561 – กำหนดการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54, ภ.พ. 36 ภายในวันที่ 7 พฤษภาคม ด้วยตัวเองที่สำนักงาน ยื่นทางอินเตอร์เน็ต ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม ต่อมาจะต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 , ภ.ธ. 40 และเงินสมทบประกันสังคม ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม และยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 23 พฤษภาคม ในส่วนของ แบบ ภ.ง.ด. 50 จะต้องยื่นภายในวันที่ 30 พฤษภาคม สำหรับบริษัทที่มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มต้น และสิ้นสุด วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ด้วยตัวเอง ยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 7 มิถุนายน แล้วทำการนำส่งงบการเงินประจำปี 2560 ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม หากงบการเงินได้รับอนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่วันที่ 30 เมษายน 2561 แล้ว

เดือนมิถุนายน 2561 – กำหนดการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54, ภ.พ. 36 ภายในวันที่ 7 มิถุนายน ด้วยตนเอง หากยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ให้ทำภายในวันที่ 15 มิถุนายน

ส่วน แบบ ภ.พ. 30 , ภ.ธ. 40 และ เงินสมทบประกันสังคมยื่นภายในวันที่ 15 มิถุนายน ด้วยตัวเอง และยื่นทางอินเตอร์เน็ตภายในวันที่ 25 มิถุนายน

เดือนกรกฎาคม 2561 – กำหนดการยื่นแบบภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54, ภ.พ. 36 ภายในวันที่ 9กรกฎาคม ด้วยตัวเอง และกำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 16 กรกฎาคม

แบบ ภ.พ. 30 , ภ.ธ.40 และเงินสมทบประกันสังคม จะต้องยื่นภายในวันที่ 16 กรกฎาคม และกำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 23 กรกฎาคม

เดือนสิงหาคม 2561 – กำหนดการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54, ภ.พ. 36 ภายในวันที่ 7 สิงหาคม ด้วยตนเอง มีกำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 15 สิงหาคม ในส่วนของ แบบ ภ.พ. 30 , ภ.ธ. 40 และเงินสมทบประกันสังคม กำหนดภายในวันที่ 15 สิงหาคม และยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 23 สิงหาคม

แบบ ภ.ง.ด. 51 ยื่นภายในวันที่ 31 สิงหาคม (ภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน) นิติบุคคลที่รอบระยะเวลาไม่น้อยกว่า 12 เดือน และสำหรับบริษัทที่มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มต้น และสิ้นสุด วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม และกำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 10 กันยายน

เดือนกันยายน 2561 – กำหนดการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54, ภ.พ. 36 ภายในวันที่ 7 กันยายน ด้วยตนเอง และ กำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 17 กันยายน

ยื่นแบบ ภ.พ. 30, ภ.ธ. 40 และเงินสมทบประกันสังคม ภายในวันที่ 17 กันยายน ด้วยตนเอง และกำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 24 กันยายน

เดือนตุลาคม 2561 – กำหนดการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54, ภ.พ. 36  ภายในวันที่ 8 ตุลาคม และกำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 16 ตุลาคม

ยื่นแบบ ภ.พ. 30 , ภ.ธ. 40 และ เงินสมทบประกันสังคม ภายในวันที่ 16 ตุลาคม และกำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 24 ตุลาคม

เดือนพฤศจิกายน 2561 – กำหนดการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54, ภ.พ. 36  ภายในวันที่ 7 พฤศจิกายน และกำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน

ยื่นแบบ ภ.พ. 30 , ภ.ธ. 40 และ เงินสมทบประกันสังคม ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน ด้วยตนเอง และกำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 23 พฤศจิกายน

เดือนธันวาคม 2561 – กำหนดการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 2, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53, ภ.ง.ด. 54, ภ.พ. 36 ภายในวันที่ 7 ธันวาคมด้วยตนเอง และกำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 17 ธันวาคม

การยื่นแบบ ภ.พ. 30 , ภ.ธ. 40 และเงินสมทบประกันสังคม ภายในวันที่ 17 ธันวาคม และกำหนดยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต ภายในวันที่ 24 ธันวาคม

อย่างไรก็ตามการยื่นแบบแสดงรายการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ตามข้อมูลปฏิทินงานบัญชีและภาษี ไม่ได้ระบุวันที่ตายตัว ว่าต้องเป็นวันที่เท่าไหร่ ระบุเพียงแค่ “ภายในวันที่” นั่นหมายความว่า ผู้ประกอบการ จะต้องไม่ยื่นงบการเงินเกินระยะเวลาที่กำหนด บางรายการก็มีกำหนดระยะเวลาว่า จะต้องยื่นภายใน 150 วัน นับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ในส่วนนี้ของแต่ละบริษัทก็จะมีระยะเวลาต่างกันออกไป บางกลุ่มอาจจะเป็นรอบบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม หรือบางกลุ่มก็อาจจะเป็นรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 มกราคม ก็ได้ การนับรอบระยะส่วนนี้ ให้นับเอาวันในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 เป็นมาตรฐานหลัก ในระยะเวลา 150 วัน นับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท

การประกอบธุรกิจกับหน้าที่ในการยื่นรายการบัญชี

เมื่อทำการจดทะเบียนทำธุรกิจในรูปแบบของบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนแล้ว ก็จะต้องมีหน้าที่ๆ กล่าวไปข้างต้น คือการยื่นแบบแสดงรายการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้สมบูรณ์ โดยการยื่นเป็นไปตามข้อกำหนดของกฏหมายที่ต้องทำทุกเดือน และบางรายการก็จะต้องทำการยื่นเป็นรอบละ 1 ครั้งต่อปีก็มี

ดังนั้นข้อดีของการทราบปฏิทินบัญชีและภาษี จะช่วยให้เหล่าผู้ประกอบการเตรียมพร้อมจัดการหาสำนักงานบัญชีช่วยทำงบการเงินให้ทันก่อนเวลาที่ต้องยื่น ในระยะเวลาดังกล่าวยังต้องเตรียมพร้อมรวบรวมเอกสารต่างๆ ทั้งรายการค้าขาย รายรับ รายจ่าย ประจำวัน ส่งมอบให้ผู้ทำบัญชีจัดการต่อ โดยจำเป็นต้องวางแผนให้ดีในการส่งมอบ เหลือเวลาให้พนักงานได้มีเวลาจัดการข้อมูลที่ได้รับมอบหมายด้วย ซึ่งจะเป็นผลดีอย่างมากเพื่อการแสดงรายการทางบัญชีและข้อมูลภาษีให้เป็นไปอย่างถูกต้อง หมดกังวลเรื่องความเสี่ยงที่จะต้องมานั่งเสียค่าปรับเพราะความล่าช้า หรือการทำงบการเงินที่ผิดพลาดเพราะความรีบร้อนโดยใช่เหตุ

ผู้ประกอบการที่ไม่อยากทำบัญชีเหล่านี้ด้วยตัวเอง ในปัจจุบันมีสำนักงานบัญชีคุณภาพให้กับบริษัทได้เลือกมากมาย ทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านบัญชีและเข้ามาวางแผน และบริหารบัญชีให้เต็มรูปแบบ เป็นข้อดีที่คุณไม่ต้องเสียเวลาปวดหัวกับตัวเลขที่ไม่ได้ช่วยเพิ่มกำไรให้ธุรกิจ จ่ายเงินลงทุนตรงนี้เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ส่วนเวลาที่เหลือก็จะได้ไปโฟกัสกับการทำแผนธุรกิจ มองหาตลาด และสร้างกำไรให้ตัวเอง

แม้ว่าการจ้างสำนักงานบัญชีคุณภาพมาทำงบการเงินอาจทำให้หลายๆคนกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการทำบัญชีอยู่ แต่ก็ทำให้ประหยัดเวลา ไม่ต้องกังวลเรื่องความผิดพลาด และจะลำบากมากกว่า หากต้องโดนเรียกเพื่อตรวจสอบภายหลัง เสมือนมีเลขาดูแลเงินส่วนตัว ที่เข้ามาช่วยทั้งการบริหารบัญชี วางแผนภาษี และการยื่นภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตัวเอง การได้เห็นข้อมูลทางบัญชีเหล่านี้ ยังเป็นข้อดีที่จะช่วยให้มองเห็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมาว่ามีรายรับ รายจ่าย เท่าไหร่ ได้มองเห็นทุนและกำไรที่ชัดเจน มีผลต่อการตัดสินใจวางแผนธุรกิจต่อไปในอนาคตให้พัฒนาก้าวหน้าได้อย่างมั่นคงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม