หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่ต้องการวางแผนลดหย่อนภาษี ด้วยวิธีทำกำไรของบริษัทให้ดูน้อย หรือเปลี่ยนแปลงตัวเลขให้บริษัทขาดทุนไปเลย ความเข้าใจเบื้องต้นที่ว่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการหลายคนเข้าใจเรื่องนี้กันแบบผิด ๆ มานักต่อนักแล้ว เพราะสิ่งที่กรมสรรพากรตรวจสอบคือกำไรทางภาษี ซึ่งเป็นคนละส่วนกับกำไรทางบัญชี ข้อมูลจากทั้งสองแหล่งนี้เป็นตัวเลขที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง ถ้าอยากรู้ว่าทำไมถึงมีความแตกต่าง ลองมาเปรียบเทียบจากข้อมูลต่อไปนี้ จะได้นำไปใช้วางแผนบัญชีในบริษัทและหาทางลดหย่อนภาษีได้ถูกต้องกันต่อไป
กำไรทางบัญชี คืออะไร ?
“กำไรทางบัญชี” หมายถึง รายได้ที่มีการหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว จากสูตรคำนวณด้วยการนำเอา “รายได้ – ต้นทุน = กำไร” ประโยชน์ของการทำบัญชีส่วนนี้ คือสามารถทำให้ผู้ประกอบการมองเห็นตัวเลขการเงินที่เกิดขึ้นในบริษัท ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นเรื่องของการวางระบบบัญชีตามปกติ เพื่อให้เห็นผลประกอบการของบริษัทที่แท้จริงว่าได้กำไรหรือขาดทุนมากน้อยแค่ไหน ช่วงเวลาปิดงบการเงินตอนสิ้นปี ตัวเลขรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นมาทุก ๆ เดือนเหล่านี้เมื่อนำมาคำนวณรวมกันจะได้ออกมาเป็นตัวเลขที่จะเอาไปเปรียบเทียบกับต้นทุนเพื่อวิเคราะห์การเติบโตของบริษัท ดังนั้นกำไรทางบัญชีจะเป็นส่วนที่คำนวณไม่ยุ่งยาก แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะละเลย ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสนใจ ศึกษาข้อมูลให้ดี จะได้ไม่เกิดความเข้าใจผิดพลาด จนทำให้การบริหารธุรกิจเดินหน้าไปผิดทางตามมานั่นเอง
กำไรทางภาษี คืออะไร ?
“กำไรทางภาษี” จะแยกคำนวณออกมาจากกำไรทางบัญชีอย่างชัดเจน เปรียบเสมือนบัญชีคนละเล่ม โดยการคำนวณจะมีมาตรฐานคือ “กำไรทางบัญชี+รายได้ที่ถือว่าเป็นรายได้+รายได้ต้องห้าม-รายได้ที่ได้รับการยกเว้น-รายจ่ายที่สามารถหักได้ = กำไรทางภาษี”
จะเห็นได้ว่าหลักการคำนวณของทั้งสองข้อมูลนี้มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง กำไรที่เกิดขึ้นจากบัญชีบริษัท กับบัญชีทางภาษีไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ผู้ประกอบการจะไม่เสียภาษีก็ต่อเมื่อได้รับการถูกเรียกว่าเป็นธุรกิจที่มีการขาดทุนทางภาษี เพราะฉะนั้นหัวใจสำคัญของการวางแผนบริษัทที่ดี คือทำความเข้าใจเรื่องกำไรทางภาษีให้มากขึ้น จะได้รู้วิธีทำให้บริษัทไม่ต้องเสียภาษีในปริมาณมาก ๆ และเป็นการวางแผนอย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างกำไรทางบัญชีกับกำไรทางภาษีที่ต้องรู้
ความสัมพันธ์ที่เหมือนเป็นคนละเรื่องเดียวกันระหว่างบัญชีทางการเงินกับบัญชีทางภาษี มาจากการที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนวณกำไรทางบัญชีก่อน จากนั้นก็ให้นำเอากำไรที่ได้ไปคำนวณกำไรทางภาษีต่อ โดยส่วนนี้จะเตรียมไว้ยื่นให้กรมสรรพากรทราบว่าบริษัทต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ความยุ่งยากมักจะอยู่ที่บางรายการที่ไม่นับรวมเป็นรายได้ทางบัญชี แต่กลับถูกนับรวมเป็นรายได้ในทางภาษี บางรายการนับรวมเป็นรายได้ทางบัญชี แต่ดันไม่ถูกนับรวมเป็นรายได้ในทางภาษี กลับไปกลับมาไม่ตรงกันแบบนี้ ซึ่งทำให้ข้อมูลเหล่านี้จะดูซับซ้อนพอสมควร เพื่อช่วยให้มองเห็นภาพได้ง่ายขึ้น ลองมาดูรายการ 4 ส่วนต่อไปนี้ที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องรู้เอาไว้
1.รายได้ที่ถือว่าเป็นรายได้ – เป็นรายได้ที่บริษัทไม่ถือว่าเป็นรายได้ แต่ในแง่ของภาษีถือว่านี่คือรายได้ เช่น ดอกเบี้ยที่มาจากการกู้ยืมเงินของลูกหนี้ เป็นต้น
2.รายได้ที่ได้รับการยกเว้น – เป็นรายได้ที่ได้รับการยกเว้น สำหรับกำไรทางบัญชีนั้นถือว่าเป็นรายได้ แต่ในทางภาษีไม่ถือว่าเป็นรายได้ เช่น เงินปันผล เป็นต้น
3.รายจ่ายต้องห้าม – บางรายการที่ถูกบันทึกว่าเป็นรายจ่ายในบัญชีบริษัท แต่ในทางภาษีไม่ถือว่าเป็นรายจ่าย เช่น การจ่ายเงินเข้ากองทุนที่ไม่ใช่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น
4.รายจ่ายที่สามารถหักมากขึ้น – เป็นรายการที่บริษัทไม่บันทึกเอาไว้ว่าเป็นรายจ่าย แต่ในทางภาษีถือว่าเป็นรายจ่าย เช่น รายจ่ายที่มาจากการส่งพนักงานไปอบรม เป็นต้น
ด้วยข้อมูลการคำนวณที่ชวนให้ดูแล้วซับซ้อน ทำให้ผู้ประกอบการส่วนมากทำบัญชีผิดพลาด กำไรที่คาดหวังว่าจะนำไปลดภาษีได้ด้วยการปรับตัวเลขที่กำไรทางบัญชีของบริษัท ไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อย่างที่หวังเอาไว้ เพราะอาจจะมีการเพิ่มหรือลดรายได้ให้ตรงตามกฏหมายภาษี ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อมูลด้านบนที่กล่าวไว้
การวางแผนบัญชีทางภาษีไม่ได้วางแผนกันง่าย ๆ อย่างที่คิด ดังนั้นอาจจำเป็นต้องพึ่งพาที่ปรึกษาบัญชีสักแห่งมาเป็นผู้ช่วย แม้จะมีค่าทำบัญชีเข้ามาเป็นต้นทุนของบริษัท แต่ก็คุ้มค่ากว่าการต้องมานั่งเสียเวลากับการบันทึกข้อมูลที่ยุ่งยากเหล่านี้ เพราะพนักงานบัญชีระดับมืออาชีพจะมีความเข้าใจรายการเหล่านี้เป็นอย่างดี ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถหาทางลดหย่อนภาษีรายปีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษี ลองเข้ามาติดต่อสอบถามกับ Scholar Accounting เพื่อรับคำปรึกษาและคำแนะนำดี ๆ จากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำบัญชี รับรองว่าคุณจะได้ข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวกับกำไรทางบัญชีและกำไรทางภาษีอย่างแน่นอน