Big data กับการตรวจภาษี การเชื่อมฐานข้อมูลของผปก.ของภาครัฐ

แนวคิดในการนำ Big Data เข้ามาใช้ เพื่อช่วยจัดระเบียบการจัดเก็บข้อมูลของกรมสรรพากรอย่างเป็นระบบและนำ AI มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบผู้เสียภาษีที่ยื่นข้อมูลมาไม่ตรงกับความเป็นจริงได้อย่างแม่นยำ แนวคิดที่ว่านี้เป็นการจับมือกันระหว่างกรมสรรพากรกับศุลกากรเพื่อยกระดับการเก็บภาษีให้มีความทันสมัย และง่ายต่อการทำงานมากขึ้น ซึ่งเน้นเอามาใช้สำหรับตรวจสอบผู้ที่หาทางเลี่ยงภาษี ระบบนี้จะทำหน้าที่เหมือน AI เข้ามาแทนที่มนุษย์ ทำให้การทำงานมีความแม่นยำ ข้อมูลภาษีต่าง ๆ ของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการซื้อขายสินค้าจะถูกบันทึกเอาไว้ในพื้นที่จัดเก็บขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำให้กรมสรรพากรจะไม่เล่นเหวี่ยงแหสุ่มตรวจจับคนที่เลี่ยงภาษีอีกต่อไป แต่จะเป็นการตรวจสอบภาษีกับธุรกิจทุกรายอย่างแม่นยำ ไปจนถึงเส้นทางการเสียภาษีว่ามีใครที่แอบลักลอบนำเข้าสินค้าแบบหลบเลี่ยงไม่ยอมจ่ายค่าภาษีหรือไม่

ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมจัดการวางแผนบัญชีเพื่อให้เสียภาษีได้อย่างถูกต้อง ใครที่ไม่ค่อยสนใจการจ่ายภาษีอาจจะต้องหันกลับมากระตุ้นตัวเองกันใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ เพราะการจ่ายภาษีก็เป็นต้นทุนที่มีผลต่อการเงินของบริษัทเช่นกัน

บทบาทของ Big Data กับการจัดการภาษี

ในระบบ Big Data ที่ถูกนำมาใช้ จะมีการจัดเก็บข้อมูลจากหลายแหล่งบนโลกออนไลน์มาทำการประมวลผลร่วมกัน ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายก็คือ หากคุณทำธุรกรรมจากหลายที่ เช่น อาจจะไปเป็นติวเตอร์ออนไลน์, ขายของออนไลน์ หรือรับจ็อบอะไรก็ตามทางออนไลน์ ถ้าเป็นการรับเงินทางออนไลน์จากหลาย ๆ ที่แบบนี้ สมัยก่อนกรมสรรพากรจะไม่รู้เรื่อง อาจมีตกหล่นบ้าง หาที่ปรึกษาบัญชีมาช่วยเลี่ยงภาษีได้แบบเนียน ๆ ได้  แต่เมื่อนำเอา Big Data มาใช้แล้วล่ะก็ ทางกรมสรรพากรจะรู้ทุกเรื่องว่าได้รับเงินจากที่ไหนมาบ้าง ดังนั้น Big Data จึงเป็นประโยชน์ต่อการประมวลผลตรวจสอบภาษี ที่รู้หมดทุกอย่างว่าคุณได้ทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์อะไรเอาไว้บ้าง

ประเด็นสำคัญของระบบ Big Data กับการเชื่อมโยงสู่ข้อมูลทางธุรกิจ

ระบบ Big Data ถือว่าเป็นรูปแบบการจัดเก็บภาษีที่เรียกได้ว่าจัดหนักไม่ยอมให้ผู้ที่พยายามเลี่ยงภาษีนั้นดิ้นหลุดไปได้ ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีเหล่านี้มาช่วยจึงทำให้เข้าถึงธุรกรรมทางการเงินของทุกคนไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบว่าบุคคลหรือนิติบุคคลเหล่านี้มีการเสียภาษีอย่างถูกต้องหรือไม่ ซึ่งทางสำนักงานบัญชีคุณภาพก็จะต้องปรับตัวไปกับการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนในการวางระบบบัญชีให้กับเจ้าของธุรกิจต่าง ๆ ในอนาคต

ข้อมูลต่าง ๆ ทางธุรกิจจะถูกเก็บเอาไว้ในระบบ Database ขนาดใหญ่ จากปกติที่ใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบ ก็เปลี่ยนมาใช้ความฉลาดของ AI มาตรวจสอบแทน ซึ่งระบบ AI ที่ว่านี้มีความฉลาดในการใช้ข้อมูลจาก Big Data มาคาดเดาได้อย่างใกล้เคียงว่าแต่ละบริษัทควรจ่ายภาษีเป็นจำนวนเท่าใด  เมื่อ Big Data มีข้อมูลมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะทำให้การทำนายการจ่ายภาษีของบริษัทต่าง ๆ ของระบบ AI แม่นยำมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน  ดังนั้นไม่ว่าจะธุรกิจแบบไหนก็จะต้องได้รับการตรวจสอบภาษีจากระบบ AI อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจะสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการทุกรายที่เสียภาษีอย่างถูกต้อง

ระบบ Big Data ยังถูกเอามาใช้เพื่อตอบสนองกับพฤติกรรมของคนสมัยนี้ที่ซื้อของออนไลน์กันมากขึ้น ความเชื่อมโยงแบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เลขบัญชีธนาคารที่มีการโอนเข้าโอนออก, ข้อมูลการขายของออนไลน์,​ ชื่อ-นามสกุล, เลขที่บัตรประชาชน ข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ในกำมือของกรมสรรพากรไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการคนใดก็ตาม

ข้อดีของการใช้ Big Data เชื่อมโยงกับการบริหารภาษีในประเทศให้มีประสิทธิภาพ ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อทุกคน ใครที่ยื่นภาษีปกติ ไม่มีหมกเม็ด ก็ไม่ต้องกังวลอะไรในส่วนนี้ เพราะข้อมูลต่าง ๆ ที่สอดคล้องในบัญชีบริหาร จะช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการในการวางแผนธุรกิจให้เข้าไปแข่งขันกับเวทีตลาดโลกได้มากขึ้น มีข้อมูลธุรกรรมการนำเข้าส่งออกที่ชัดเจน แถมระบุชื่อของผู้เสียภาษีได้ด้วย ดังนั้นจึงช่วยให้แบ่งแยกกลุ่มของผู้เสียภาษีที่ถูกต้อง กับกลุ่มที่เข้าข่ายหลบเลี่ยงออกจากกัน จะได้จับตามองได้ถูกจุด เกิดความโปร่งใส และรับรองว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกในการวางแผนบัญชีของผู้ประกอบการให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีนี้มากขึ้น สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Big Data ที่ใช้ในการตรวจสอบภาษี ลองเข้ามาติดต่อสอบถามกับ Scholar Accounting  เพื่อรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำบัญชี รับรองว่าคุณจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างแน่นอน