ในปี 2563 กรมสรรพากรมีการออกกฎเอาไว้ว่า ธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์จะต้องมีการยื่นธุรกรรมเป็นลักษณะพิเศษให้กับทางกรมสรรพากร โดยเป็นหน้าที่ของธนาคารที่จะต้องทำการยื่นข้อมูลดังกล่าว ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่เดือน มีนาคม พ.ศ.2563 เป็นต้นไป สำหรับจุดประสงค์หลักของการมีธุรกรรมเป็นลักษณะพิเศษก็เพื่อเพิ่มการจัดเก็บภาษีให้ได้ประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสียเปรียบได้เปรียบของคนที่ยื่นภาษีอย่างถูกต้องกับบางกลุ่มที่หาทางเลี่ยงภาษี แนวทางนี้จะช่วยให้การรายงานข้อมูลผ่านธนาคารส่งตรงไปยังกรมสรรพากรได้อย่างถูกต้องแบบไม่มีคลาดเคลื่อน
ทำความเข้าใจ ทำไมต้องเรียกว่า “ธุรกรรมเป็นลักษณะพิเศษ” ?
ธุรกรรมเป็นลักษณะพิเศษ เป็นการร่างกฎหมายใหม่ขึ้นมา เพื่อนำไปใช้รองรับการจ่ายภาษีของผู้ประกอบการ รวมไปถึงการทำเอกสารทางธุรกรรมที่เริ่มมีการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการชำระเงิน ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมไร้เงินสด รัฐบาลเรียกระบบการชำระเงินดังกล่าวว่า “National e-Payment Master Plan” หรือการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ โดยธุรกรรมที่เข้าข่ายเป็น “ธุรกรรมเป็นลักษณะพิเศษ” มีดังนี้
- การทำธุรกรรมจากการ “ฝาก” หรือ “รับโอนเงิน” จากทุกบัญชีที่ได้รับรวมกันเกิน 3,000 ครั้งขึ้นไป
- การทำธุรกรรมจากการ “ฝาก” หรือ “รับโอนเงิน” จากทุกบัญชีที่ได้รับรวมกันตั้งแต่ 200 ครั้งขึ้นไป โดยมีการฝากและรับโอนเงินรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป
หากผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหรือคนธรรมดาที่ไม่ได้จดทะเบียนบริษัท เข้าข่ายการฝากและโอนเงินแบบนี้ ทางธนาคารก็จะทำการส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรเพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษี และช่วยให้มีการจ่ายภาษีอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามร่างกฎหมายดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการร่าง คาดว่าจะเริ่มใช้ครั้งแรกในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2563 ตอนนี้กรมสรรพากรเปิดโอกาสให้ประชาชน สามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมกันได้ที่ www.rd.go.th/publish/27837.0.html และอ่านข้อมูลร่าง พรบ.ดังกล่าวให้เข้าใจ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น
ผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไร ?
การปรับตัวด้วยการจัดการบัญชีบริหารให้มีความถูกต้อง เพื่อช่วยให้เห็นตัวเลขที่แน่ชัด แม้ว่าใครจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ผู้ประกอบการและเหล่าสำนักงานบัญชีคุณภาพที่ได้รับการว่าจ้างก็จะต้องปรับตัวและพร้อมเดินหน้าไปกับการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อให้เกิดความทันยุคทันสมัย เข้าใจระบบการจ่ายภาษีที่จะต้องมีความโปร่งใส ไม่บิดเบือนตัวเลข การจ่ายภาษีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่าคนที่ไม่ยอมปฏิบัติตาม ก็เตรียมรับมือกับบทลงโทษด้วยค่าปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หากยังไม่ทำตาม จะมีค่าล่าช้าปรับเพิ่มอีกไม่เกินวันละ 1 หมื่นบาทด้วย
ร่างกฎหมายนี้ไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับนิติบุคคลหรือคนที่ค้าขายออนไลน์เท่านั้น แต่จะมีการนำไปใช้ครอบคลุมกับทุกคนในประเทศไทยที่มีลักษณะทางธุรกรรมเคลื่อนไหวเหมือนที่กล่าวไปข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นแม่ค้าขายส้มตำ หรือคนทำการค้าออนไลน์ ไปจนถึงคนที่ทำอาชีพอิสระ ล้วนก็ต้องถูกตรวจสอบด้วยกันทั้งหมด มองในแง่ดีก็ถือว่า เป็นประโยชน์กับคนที่จ่ายภาษีอย่างถูกต้องและป้องกันพวกชอบเอารัดเอาเปรียบ ที่ชอบหาทางเลี่ยงภาษี
ชำแหละบทบาทของธุรกรรมเป็นลักษณะพิเศษ สิ่งที่คนทำธุรกิจต้องเข้าใจ
ชำแหละข้อมูลว่าด้วยกฎหมายธุรกรรมเป็นลักษณะพิเศษเพิ่มกันสักหน่อย จะได้ช่วยให้ทุกคนที่ต้องเสียภาษีเป็นหน้าที่อยู่แล้วได้เข้าใจกระบวนการทำงานมากขึ้น
ย้ำกันอีกครั้งว่าการเคลื่อนไหวการเงินดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ถ้าหากมีการรับเงินเข้าบัญชีอิเล็กทรอนิกส์เกิน 200 ครั้งต่อปี และยอดรวมกัน 2 ล้านบาทขึ้นไป หรือ กรณีที่มีการรับเงินเกิน 3,000 ครั้งต่อไปขึ้นไป โดยรวมเอาทุกบัญชีมาพิจารณาก็แปลว่าเข้าข่ายด้วยกันทั้งนั้น ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้บังคับเฉพาะคนที่ขายของออนไลน์ แต่เกี่ยวข้องกับทุกคนที่มีบัญชีธนาคารที่มีการทำธุรกรรมเกิดขึ้น ถ้ามีการโอนเงินระหว่างบัญชีตัวเองสลับไปสลับมา ในส่วนนี้ยังไม่สรุปว่าจะเข้าข่ายไหม เพราะกฎหมายยังอยู่ในขั้นตอนการร่าง แต่สิ่งสำคัญคือเงินที่โอนเข้ามาหากถูกเรียกตรวจสอบแล้ว บอกไม่ได้ว่าเงินนั้นมาจากไหน ก็เสี่ยงที่จะโดนข้อหาเลี่ยงภาษีได้
ดังนั้นผู้ประกอบการที่ต้องการทำธุรกิจให้โปร่งใส ควรมีการวางแผนบัญชีรายรับและรายจ่ายของบริษัทให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ถ้าขี้เกียจทำ ก็มีที่ปรึกษาบัญชีมากมายให้ลองเลือกใช้บริการ โดยเฉพาะสำนักงานบัญชีคุณภาพ ที่สามารถเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระ ลดความยุ่งยากตรงนี้ลงไป ส่วนใครที่บอกว่าอยากจะเลี่ยงภาษีด้วยการไม่ใช้วิธีจ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่ใช้การรับเงินสดแทน บอกเลยว่าจะมีปัญหากับการขอสินเชื่อในอนาคต เพราะธนาคารกำลังจะเปลี่ยนเข้าสู่ระบบบัญชีเล่มเดียวอย่างเต็มตัว ใครอยากวางแผนธุรกิจให้ยั่งยืน เติบโตได้อย่างมั่นคงแล้วล่ะก็ ควรเสียภาษีให้ถูกต้อง
กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมลักษณะพิเศษ ถูกร่างขึ้นมาเพื่อเป็นการบอกให้คนไทยรู้ถึงหน้าที่ของตัวเองที่ต้องทำกันอยู่แล้ว เพราะเมื่อมีรายได้ก็ต้องเสียภาษี แต่ถ้าหากไม่มีรายได้ตามข้อกำหนด ก็ไม่จำเป็นต้องจ่าย เข้าใจกันง่าย ๆ ก็คือการสร้างความเป็นธรรมให้กับธุรกิจทุกราย ไม่ว่าจะเป็นรายย่อยหรือรายใหญ่นั่นเอง สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกรรมเป็นลักษณะพิเศษ ลองเข้ามาติดต่อสอบถามกับ Scholar Accounting เพื่อรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำบัญชี รับรองว่าคุณจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับธุรกรรมเป็นลักษณะพิเศษอย่างแน่นอน