ค่าปรับภาษีนิติบุคคลที่หลายๆคนไม่เคยรู้

 

นิติบุคคล  (Juristic Persons)  หมายถึง บุคคลที่กฎหมายสมมติให้มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบได้ตามกฏหมายเหมือนบุคคลธรรมดา และสามารถกระทำการใดๆได้เช่นเดียวกับ บุคคลธรรมดา เช่น มีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา มีสิทธิในการเป็นเจ้าของ ทรัพย์สินต่างๆ มีหน้าที่ในการเสียภาษี และเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ได้

กระนั้นนิติบุคคลก็ไม่สามารถกระทำการเหมือนกับบุคคลธรรมดาได้ทุกเรื่อง เช่น สิทธิในการจดทะเบียนสมรส สิทธิทางการเมือง เนื่องจากนิติบุคคลเป็นเพียงบุคคลสมมติที่ไม่มีชีวิต ร่างกาย และสติปัญญาเหมือนกับบุคคลธรรมดา

สภาพนิติบุคคลจะเริ่มต้นเมื่อไหร่?

– ถ้าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน สภาพนิติบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่จดทะเบียนตามกฎหมาย

– ถ้าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน สภาพนิติบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่พระราชบัญญัติที่จัดตั้งนิติบุคคลนั้นมีผลบังคับใช้

ผู้แทนนิติบุคคลคืออะไร?

ดังนั้นเมื่อนิติบุคคลไม่สามารถกระทำการบางอย่างได้เหมือนบุคคลธรรมดา จึงจำเป็นต้องแต่งตั้ง “ผู้แทนนิติบุคคล” เพื่อให้ทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา

ผู้แทนนิติบุคคล คือ ผู้ทำหน้าที่แสดงเจตนาแทนตัวนิติบุคคล อาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ตามที่กฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งจะกำหนดไว้

ตัวแทนนิติบุคคล หรือตัวแทน คือ ผู้ทำหน้าที่แทนตัวการ ตามสัญญาตัวแทน

ประเภทของนิติบุคคล

นิติบุคคลออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีด้วยกัน 5 ประเภท ได้แก่
  • บริษัทจำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
  • สมาคม
  • มูลนิธิ
  1. นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในกฎหมายมหาชนอื่นๆซึ่งมีเป็นจำนวนมาก เช่น วัด จังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์การมหาชน เป็นต้น

 

ภาษีที่ “นิติบุคลล” ต้องจ่าย

เมื่อมีการจดทะเบียนบริษัทหรือจดทะเบียนทำธุรกิจขึ้นมาเป็นนิติบุคคลประเภทใดแล้วก็ตาม ย่อมต้องมี “ภาษี” ของเจ้าของการทำธุรกิจในรูปแบบ “นิติบุคคล” ตามมานั่นเอง

ไม่ว่านิติบุคคลจะประกอบธุรกิจใดๆ การวางแผนธุรกิจถือเป็นเรื่องจำเป็น เช่นเดียวกับการวางแผนภาษีและมีที่ปรึกษาภาษีที่ดี ก็จะเป็นตัวช่วยให้ภาษีทุกบาททุกสตางค์ที่เสียไปคุ้มค่าที่สุด

ภาษีที่นิติบุคคลที่จดทะเบียนในรูปแบบต่างๆ จะต้องจ่ายให้กับรัฐ มี 5 ชนิดภาษี ดังต่อไปนี้

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากนิติบุคคลที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายภาษีอากรที่ชือว่า “ประมวลรัษฎากร”

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฏากร ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นจะมี 2 แบบ ก็คือ

(1) แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 50 สำหรับภาษีสำหรับรอบบัญชีที่ต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดบัญชี

(2) แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 51 ที่ต้องยื่นภายใน 2 เดือนหลังจากรอบบัญชีครึ่งปีด้วยครับ

  1. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

คือ ภาษีที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคลหรือคนธรรมดาก็ได้

ทุกครั้งที่มีการชำระภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่ จ่าย เพื่อใช้เป็นหลักฐานยื่นกับกรมสรรพากรว่าได้ถูกหักภาษีไว้จำนวนหนึ่งแล้ว เพื่อให้การเสียภาษีสิ้นปีมีจำนวนน้อยลงหรือไม่ต้องเสียเวลา

ทั้งนี้นิติบุคคลจะต้องแสดงแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.53) ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

คือ ภาษีที่เก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการขายสินค้าและการให้บริการประเภทต่างๆ โดยเรียกเก็บจากผู้ประกอบการและผู้นำเข้า ผู้ผลิต ผู้ให้บริการผู้ขายส่ง ผู้ขายปลีก ส่งออก ผู้นำเข้า ซึ่งมีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 1,800,000 บาทขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม

ทั้งนี้นิติบุคคลจะต้องแสดงแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

  1. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

คือ ภาษีตามประมวลรัษฎากรอีกประเภทหนึ่ง ที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก เช่น กิจการธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ หรือการขายอสังหาริมทรัพย์

ทั้งนี้นิติบุคคลจะต้องแสดงแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40) และในกรณีทั่วไปของธุรกิจ เมื่อมีการขายอสังหาริมทรัพย์หรือการให้กู้ยืมเงินจะเสียภาษีที่อัตรา 3.3% (รวมอัตราภาษีท้องถิ่น)

  1. อากรแสตมป์

คือภาษีตามประมวลรัษฎากรอีกประเภทหนึ่ง จะเรียกเก็บเมื่อมีการทำ “ตราสาร” ระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์

“ตราสาร” ตามประมวลรัษฎากรหมายถึงเอกสารหรือสัญญาที่ต้องเสียอากรแสตมป์ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เช่น ตราสารเช่าซื้อทรัพย์สิน

ค่าปรับภาษีนิติบุคคลประเภทต่างๆ

เมื่อมีการเสียภาษีชนิดต่างๆ ตามประเภทนิติบุคคลนั้นๆ แล้ว หากการชำระภาษีไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดก็อาจต้องมีการเสียค่าปรับตามแต่ประเภทของภาษีชนิดต่างๆ ด้วย โดยค่าปรับจากกรมสรรพากรของภาษีแต่ละประเภทก็แตกต่างกันไป ดังนี้

  1. ค่าปรับภาษีเงินได้นิติบุคคล

1.1 ค่าปรับเงินเพิ่มภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50, ภงด.51) กรณียื่นเกินกำหนดเวลา

  • กรณียื่นเกินกำหนดเวลาภายใน 7 วัน ค่าปรับแบบ 1,000 บาท
  • กรณียื่นเกินกำหนดเวลามากกว่า 7 วัน ค่าปรับแบบ 2,000 บาท
  • กรณียื่นงบการเงินเกินกำหนดเวลา ค่าปรับ 2,000 บาท พร้อมทั้งชำระเงินเพิ่ม

1.2 เงินเพิ่ม คำนวณจากยอดต้องชำระ (ถ้ามี) * 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

**กรณียื่นแบบ ภงด.50 จะต้องยื่นพร้อมงบการเงิน แนบประกอบการยื่นแบบดังกล่าว

  1. ค่าปรับภาษีหัก ณ ที่จ่าย

2.1 ค่าปรับเงินเพิ่มภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1, 3, 53) ต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น

  • กรณียื่นเกินกำหนดเวลาภายใน 7 วัน ค่าปรับแบบ 100 บาท
  • กรณียื่นเกินกำหนดเวลามากกว่า 7 วัน ค่าปรับแบบ 200 บาท

2.2 เงินเพิ่ม คำนวณจากยอดต้องชำระ (ถ้ามี) * 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

  1. ค่าปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม

3.1 ค่าปรับเงินเพิ่มภภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ. 30) ต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น

  • กรณียื่นเกินกำหนดเวลาภายใน 7 วัน ค่าปรับแบบ 300 บาท
  • กรณียื่นเกินกำหนดเวลามากกว่า 7 วัน ค่าปรับแบบ 500 บาท

3.2 เงินเพิ่ม คำนวณจากยอดต้องชำระ (ถ้ามี) * 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

การเสียเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ. 30) แบ่งได้ 2 กรณี คือ

(1.) กรณียื่นแบบเพิ่มเติมภายในกำหนดเวลา (ต้องมีการยื่นแบบปกติมาก่อนถึงจะยื่นเพิ่มเติมได้) จะเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของจำนวนภาษี

(2.) กรณีไม่เคยยื่นหรือยื่นเกินกำหนดเวลา จะเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษี

คำนวณเบี้ยปรับ ดังนี้

  • ถ้าชำระภายใน 15 วัน คิด 2% ของเบี้ยปรับตามกรณี (1) หรือ (2)
  • ถ้าชำระภายหลัง 15 วันแต่ไม่เกิน 30 วัน คิด 5% ของเบี้ยปรับตามกรณี (1) หรือ (2)
  • ถ้าชำระภายหลัง 30 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน คิด 10% ของเบี้ยปรับตามกรณี (1) หรือ (2)
  • ถ้าชำระภายหลัง 60 วันนับจากวันพ้นกำหนดชำระภาษี คิด 20% ของเบี้ยปรับตามกรณี (1) หรือ (2)
  1. ค่าปรับภาษีธุรกิจ

4.1 ค่าปรับเงินเพิ่มภาษีธุรกิจ (ภธ. 40) ต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น

  • กรณียื่นเกินกำหนดเวลาภายใน 7 วัน ค่าปรับแบบ 300 บาท
  • กรณียื่นเกินกำหนดเวลามากกว่า 7 วัน ค่าปรับแบบ 500 บาท

4.2 เงินเพิ่ม คำนวณจากยอดต้องชำระ (ถ้ามี) * 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

การเสียเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ. 30) แบ่งได้ 2 กรณี คือ

(1.) กรณียื่นแบบเพิ่มเติมภายในกำหนดเวลา (ต้องมีการยื่นแบบปกติมาก่อนถึงจะยื่นเพิ่มเติมได้) จะเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของจำนวนภาษี

(2.) กรณีไม่เคยยื่นหรือยื่นเกินกำหนดเวลา จะเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษี

คำนวณเบี้ยปรับ ดังนี้

  • ถ้าชำระภายใน 15 วัน คิด 2% ของเบี้ยปรับตามกรณี (1) หรือ (2)
  • ถ้าชำระภายหลัง 15 วันแต่ไม่เกิน 30 วัน คิด 5% ของเบี้ยปรับตามกรณี (1) หรือ (2)
  • ถ้าชำระภายหลัง 30 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน คิด 10% ของเบี้ยปรับตามกรณี (1) หรือ (2)
  • ถ้าชำระภายหลัง 60 วันนับจากวันพ้นกำหนดชำระภาษี คิด 20% ของเบี้ยปรับตามกรณี (1) หรือ (2)
  1. ค่าปรับอากรแสตมป์
  • หากเป็นกรณียื่นตราสารที่กระทำในประเทศไทยต่อเจ้าพนักงานสรรพากรเพื่อเสียอากรภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีหน้าที่ต้องปิดแสตมป์ให้ครบถ้วน ก็เสียเพียงค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด และไม่ต้องเสียเงินเพิ่มอากรอีก
  • หากพบว่าไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนเกินกว่า 15 วันแต่ไม่เกิน 90 วันนับแต่วันที่มีหน้าที่ต้องปิดแสตมป์ให้ครบถ้วน ต้องเสียเงินเพิ่มอากรเป็น 2 เท่าของจำนวนอากร หรือเป็นเงิน 4 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
  • หากพบว่าไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนเกินกว่า 90 วันที่มีหน้าที่ต้องปิดแสตมป์ให้ครบถ้วน ต้องเสียเงินเพิ่มอากรเป็น 5 เท่าของจำนวนอากร หรือเป็นเงิน 10 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
  • กรณีที่ปิดอากรไม่ครบ ต้องเสียเงินเพิ่มอากรเป็น 6  เท่าของจำนวนอากร หรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
  • กรณีที่ไม่ปิดอากรเลย ต้องเสียเงินเพิ่มอากรเป็น 6 เท่าของจำนวนอากร หรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า

นอกจากค่าปรับเรื่องการยื่นภาษีประเภทต่างๆ ล่าช้าแล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่นิติบุคคลต้องพึงระวังนั่นก็คือค่าปรับจากการส่งงบการเงินล่าช้า โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  1. ค่าปรับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์หรือ หมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ซึ่งต้องยื่นภายใน 5 เดือน ตามเกณฑ์แล้วต้องยื่นภายใน 1 เดือน นับจากวันประชุมผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยต้องประชุมภายใน 4 เดือน จึงนับยาวรวมกันเป็น 5 เดือน ดังนั้นงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี จะต้องยื่นภายในวันที่ 31พฤษภาคมของปีถัดไป

1.1   อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

ลำดับที่ ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี กรรมการผู้จัดการ/

หุ้นส่วนผู้จัดการ

รวม
1 ทุกประเภท ยกเว้นกิจการร่วมค้า 600 600 1,200
2 กิจการร่วมค้า 600 600

1.2   อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า  2 เดือน แต่ไม่เกิน  4  เดือน

ลำดับที่ ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี กรรมการผู้จัดการ/

หุ้นส่วนผู้จัดการ

รวม
1 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน 1,200 1,200 2,400
2 บริษัทจำกัด 2,400 2,400 4,800
3 นิติบุคคลต่างประเทศ 6,000 6,000 12,000
4 บริษัทมหาชนจำกัด 12,000 12,000 24,000
5 กิจการร่วมค้า 6,000 6,000 

1.3  อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 4  เดือน แต่ไม่เกิน  6  เดือน

ลำดับที่ ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี กรรมการผู้จัดการ/

หุ้นส่วนผู้จัดการ

รวม
1 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน 2,400 2,400 4,800
2 บริษัทจำกัด 4,800 4,800 9,600
3 นิติบุคคลต่างประเทศ 12,000 12,000 24,000
4 บริษัทมหาชนจำกัด 24,000 24,000 48,000
5 กิจการร่วมค้า 12,000 12,000 

1.4     อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า  6  เดือนขึ้นไป หรือไม่ยื่นงบการเงิน

ลำดับที่ ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี กรรมการผู้จัดการ/

หุ้นส่วนผู้จัดการ

รวม
1 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน 3,600 3,600 7,200
2 บริษัทจำกัด 6,000 6,000 12,000
3 นิติบุคคลต่างประเทศ 18,000 18,000 36,000
4 บริษัทมหาชนจำกัด 36,000 36,000 72,000
5 กิจการร่วมค้า 18,000 18,000

 

  1. ค่าปรับจากกรมสรรพากร กรณียื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 50 สำหรับภาษีสำหรับรอบบัญชีที่ต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดบัญชี แบ่งเป็นค่าปรับและเงินเพิ่ม ดังนี้

2.1 ค่าปรับเงินเพิ่มภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50, ภงด.51) กรณียื่นเกินกำหนดเวลา

  • กรณียื่นเกินกำหนดเวลาภายใน 7 วัน ค่าปรับแบบ 1,000 บาท
  • กรณียื่นเกินกำหนดเวลามากกว่า 7 วัน ค่าปรับแบบ 2,000 บาท
  • กรณียื่นงบการเงินเกินกำหนดเวลา ค่าปรับ 2,000 บาท พร้อมทั้งชำระเงินเพิ่ม

2.2 เงินเพิ่ม คำนวณจากยอดต้องชำระ (ถ้ามี) * 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

อีกสิ่งที่นิติบุคคลต้องละเลยไม่ได้นั่นก็คือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการบัญชี ประจำปี 2543 ซึ่งมีค่าปรับสำหรับการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆ ดังนี้

ลำดับที่ ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี จำนวนค่าปรับ ผู้รับโทษ
1 ไม่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัติ กำหนดและตามวันเริ่มทำบัญชีที่กำหนด 30,000 และค่าปรับอีกวันละ 1,000 บาท ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
2 ไม่จัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงิน
ภายในเวลาที่กำหนด
50,000 ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
3. ไม่จัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบ
และ แสดงความเห็นโดย
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
20,000 ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
4. ไม่ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบ
การลงบัญชี ให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้อง
10,000 ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
5. ไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มี
คุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด
10,000 ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
6. ไม่จัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผล
การดำเนินงาน ฐานะการเงินหรือ
การเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน
ตามความเป็นจริง และตามมาตรฐาน
การบัญชี
10,000 ผู้กระทำความผิด

การเรียนรู้เรื่องภาษีนิติบุคคลถือเป็นสิ่งจำเป็นของนิติบุคคลและผู้ที่ประกอบธุรกิจ เช่นเดียวกับการวางแผนธุรกิจ หากวางแผนภาษีดี หรือมีที่ปรึกษาภาษี ที่ปรึกษาบัญชี หรือมีสำนักงานบัญชีคุณภาพที่ดีไว้คอยให้คำแนะนำ ก็รับรองได้ว่าภาษีทุกเม็ดจะไม่มีค่าปรับเข้ามากล้ำกรายอย่างแน่นอน