นิติบุคคล (Juristic Persons) หมายถึง บุคคลที่กฎหมายสมมติให้มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบได้ตามกฏหมายเหมือนบุคคลธรรมดา และสามารถกระทำการใดๆได้เช่นเดียวกับ บุคคลธรรมดา เช่น มีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา มีสิทธิในการเป็นเจ้าของ ทรัพย์สินต่างๆ มีหน้าที่ในการเสียภาษี และเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ได้
กระนั้นนิติบุคคลก็ไม่สามารถกระทำการเหมือนกับบุคคลธรรมดาได้ทุกเรื่อง เช่น สิทธิในการจดทะเบียนสมรส สิทธิทางการเมือง เนื่องจากนิติบุคคลเป็นเพียงบุคคลสมมติที่ไม่มีชีวิต ร่างกาย และสติปัญญาเหมือนกับบุคคลธรรมดา
สภาพนิติบุคคลจะเริ่มต้นเมื่อไหร่?
– ถ้าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน สภาพนิติบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่จดทะเบียนตามกฎหมาย
– ถ้าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน สภาพนิติบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่พระราชบัญญัติที่จัดตั้งนิติบุคคลนั้นมีผลบังคับใช้
ผู้แทนนิติบุคคลคืออะไร?
ดังนั้นเมื่อนิติบุคคลไม่สามารถกระทำการบางอย่างได้เหมือนบุคคลธรรมดา จึงจำเป็นต้องแต่งตั้ง “ผู้แทนนิติบุคคล” เพื่อให้ทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา
ผู้แทนนิติบุคคล คือ ผู้ทำหน้าที่แสดงเจตนาแทนตัวนิติบุคคล อาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ตามที่กฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งจะกำหนดไว้
ตัวแทนนิติบุคคล หรือตัวแทน คือ ผู้ทำหน้าที่แทนตัวการ ตามสัญญาตัวแทน
ประเภทของนิติบุคคล
นิติบุคคลออกเป็น 2 ประเภท คือ
- นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีด้วยกัน 5 ประเภท ได้แก่
- บริษัทจำกัด
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
- สมาคม
- มูลนิธิ
- นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในกฎหมายมหาชนอื่นๆซึ่งมีเป็นจำนวนมาก เช่น วัด จังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์การมหาชน เป็นต้น
ภาษีที่ “นิติบุคลล” ต้องจ่าย
เมื่อมีการจดทะเบียนบริษัทหรือจดทะเบียนทำธุรกิจขึ้นมาเป็นนิติบุคคลประเภทใดแล้วก็ตาม ย่อมต้องมี “ภาษี” ของเจ้าของการทำธุรกิจในรูปแบบ “นิติบุคคล” ตามมานั่นเอง
ไม่ว่านิติบุคคลจะประกอบธุรกิจใดๆ การวางแผนธุรกิจถือเป็นเรื่องจำเป็น เช่นเดียวกับการวางแผนภาษีและมีที่ปรึกษาภาษีที่ดี ก็จะเป็นตัวช่วยให้ภาษีทุกบาททุกสตางค์ที่เสียไปคุ้มค่าที่สุด
ภาษีที่นิติบุคคลที่จดทะเบียนในรูปแบบต่างๆ จะต้องจ่ายให้กับรัฐ มี 5 ชนิดภาษี ดังต่อไปนี้
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากนิติบุคคลที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายภาษีอากรที่ชือว่า “ประมวลรัษฎากร”
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฏากร ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นจะมี 2 แบบ ก็คือ
(1) แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 50 สำหรับภาษีสำหรับรอบบัญชีที่ต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดบัญชี
(2) แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 51 ที่ต้องยื่นภายใน 2 เดือนหลังจากรอบบัญชีครึ่งปีด้วยครับ
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
คือ ภาษีที่คน “จ่าย” ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลต้อง “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับที่เป็นนิติบุคคลหรือคนธรรมดาก็ได้
ทุกครั้งที่มีการชำระภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่ จ่าย เพื่อใช้เป็นหลักฐานยื่นกับกรมสรรพากรว่าได้ถูกหักภาษีไว้จำนวนหนึ่งแล้ว เพื่อให้การเสียภาษีสิ้นปีมีจำนวนน้อยลงหรือไม่ต้องเสียเวลา
ทั้งนี้นิติบุคคลจะต้องแสดงแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.53) ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
คือ ภาษีที่เก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการขายสินค้าและการให้บริการประเภทต่างๆ โดยเรียกเก็บจากผู้ประกอบการและผู้นำเข้า ผู้ผลิต ผู้ให้บริการผู้ขายส่ง ผู้ขายปลีก ส่งออก ผู้นำเข้า ซึ่งมีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 1,800,000 บาทขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม
ทั้งนี้นิติบุคคลจะต้องแสดงแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ
คือ ภาษีตามประมวลรัษฎากรอีกประเภทหนึ่ง ที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก เช่น กิจการธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ หรือการขายอสังหาริมทรัพย์
ทั้งนี้นิติบุคคลจะต้องแสดงแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40) และในกรณีทั่วไปของธุรกิจ เมื่อมีการขายอสังหาริมทรัพย์หรือการให้กู้ยืมเงินจะเสียภาษีที่อัตรา 3.3% (รวมอัตราภาษีท้องถิ่น)
- อากรแสตมป์
คือภาษีตามประมวลรัษฎากรอีกประเภทหนึ่ง จะเรียกเก็บเมื่อมีการทำ “ตราสาร” ระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์
“ตราสาร” ตามประมวลรัษฎากรหมายถึงเอกสารหรือสัญญาที่ต้องเสียอากรแสตมป์ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เช่น ตราสารเช่าซื้อทรัพย์สิน
ค่าปรับภาษีนิติบุคคลประเภทต่างๆ
เมื่อมีการเสียภาษีชนิดต่างๆ ตามประเภทนิติบุคคลนั้นๆ แล้ว หากการชำระภาษีไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดก็อาจต้องมีการเสียค่าปรับตามแต่ประเภทของภาษีชนิดต่างๆ ด้วย โดยค่าปรับจากกรมสรรพากรของภาษีแต่ละประเภทก็แตกต่างกันไป ดังนี้
- ค่าปรับภาษีเงินได้นิติบุคคล
1.1 ค่าปรับเงินเพิ่มภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50, ภงด.51) กรณียื่นเกินกำหนดเวลา
- กรณียื่นเกินกำหนดเวลาภายใน 7 วัน ค่าปรับแบบ 1,000 บาท
- กรณียื่นเกินกำหนดเวลามากกว่า 7 วัน ค่าปรับแบบ 2,000 บาท
- กรณียื่นงบการเงินเกินกำหนดเวลา ค่าปรับ 2,000 บาท พร้อมทั้งชำระเงินเพิ่ม
1.2 เงินเพิ่ม คำนวณจากยอดต้องชำระ (ถ้ามี) * 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
**กรณียื่นแบบ ภงด.50 จะต้องยื่นพร้อมงบการเงิน แนบประกอบการยื่นแบบดังกล่าว
- ค่าปรับภาษีหัก ณ ที่จ่าย
2.1 ค่าปรับเงินเพิ่มภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1, 3, 53) ต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น
- กรณียื่นเกินกำหนดเวลาภายใน 7 วัน ค่าปรับแบบ 100 บาท
- กรณียื่นเกินกำหนดเวลามากกว่า 7 วัน ค่าปรับแบบ 200 บาท
2.2 เงินเพิ่ม คำนวณจากยอดต้องชำระ (ถ้ามี) * 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
- ค่าปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.1 ค่าปรับเงินเพิ่มภภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ. 30) ต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น
- กรณียื่นเกินกำหนดเวลาภายใน 7 วัน ค่าปรับแบบ 300 บาท
- กรณียื่นเกินกำหนดเวลามากกว่า 7 วัน ค่าปรับแบบ 500 บาท
3.2 เงินเพิ่ม คำนวณจากยอดต้องชำระ (ถ้ามี) * 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
การเสียเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ. 30) แบ่งได้ 2 กรณี คือ
(1.) กรณียื่นแบบเพิ่มเติมภายในกำหนดเวลา (ต้องมีการยื่นแบบปกติมาก่อนถึงจะยื่นเพิ่มเติมได้) จะเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของจำนวนภาษี
(2.) กรณีไม่เคยยื่นหรือยื่นเกินกำหนดเวลา จะเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษี
คำนวณเบี้ยปรับ ดังนี้
- ถ้าชำระภายใน 15 วัน คิด 2% ของเบี้ยปรับตามกรณี (1) หรือ (2)
- ถ้าชำระภายหลัง 15 วันแต่ไม่เกิน 30 วัน คิด 5% ของเบี้ยปรับตามกรณี (1) หรือ (2)
- ถ้าชำระภายหลัง 30 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน คิด 10% ของเบี้ยปรับตามกรณี (1) หรือ (2)
- ถ้าชำระภายหลัง 60 วันนับจากวันพ้นกำหนดชำระภาษี คิด 20% ของเบี้ยปรับตามกรณี (1) หรือ (2)
- ค่าปรับภาษีธุรกิจ
4.1 ค่าปรับเงินเพิ่มภาษีธุรกิจ (ภธ. 40) ต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น
- กรณียื่นเกินกำหนดเวลาภายใน 7 วัน ค่าปรับแบบ 300 บาท
- กรณียื่นเกินกำหนดเวลามากกว่า 7 วัน ค่าปรับแบบ 500 บาท
4.2 เงินเพิ่ม คำนวณจากยอดต้องชำระ (ถ้ามี) * 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
การเสียเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ. 30) แบ่งได้ 2 กรณี คือ
(1.) กรณียื่นแบบเพิ่มเติมภายในกำหนดเวลา (ต้องมีการยื่นแบบปกติมาก่อนถึงจะยื่นเพิ่มเติมได้) จะเสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของจำนวนภาษี
(2.) กรณีไม่เคยยื่นหรือยื่นเกินกำหนดเวลา จะเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษี
คำนวณเบี้ยปรับ ดังนี้
- ถ้าชำระภายใน 15 วัน คิด 2% ของเบี้ยปรับตามกรณี (1) หรือ (2)
- ถ้าชำระภายหลัง 15 วันแต่ไม่เกิน 30 วัน คิด 5% ของเบี้ยปรับตามกรณี (1) หรือ (2)
- ถ้าชำระภายหลัง 30 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน คิด 10% ของเบี้ยปรับตามกรณี (1) หรือ (2)
- ถ้าชำระภายหลัง 60 วันนับจากวันพ้นกำหนดชำระภาษี คิด 20% ของเบี้ยปรับตามกรณี (1) หรือ (2)
- ค่าปรับอากรแสตมป์
- หากเป็นกรณียื่นตราสารที่กระทำในประเทศไทยต่อเจ้าพนักงานสรรพากรเพื่อเสียอากรภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีหน้าที่ต้องปิดแสตมป์ให้ครบถ้วน ก็เสียเพียงค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด และไม่ต้องเสียเงินเพิ่มอากรอีก
- หากพบว่าไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนเกินกว่า 15 วันแต่ไม่เกิน 90 วันนับแต่วันที่มีหน้าที่ต้องปิดแสตมป์ให้ครบถ้วน ต้องเสียเงินเพิ่มอากรเป็น 2 เท่าของจำนวนอากร หรือเป็นเงิน 4 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
- หากพบว่าไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนเกินกว่า 90 วันที่มีหน้าที่ต้องปิดแสตมป์ให้ครบถ้วน ต้องเสียเงินเพิ่มอากรเป็น 5 เท่าของจำนวนอากร หรือเป็นเงิน 10 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
- กรณีที่ปิดอากรไม่ครบ ต้องเสียเงินเพิ่มอากรเป็น 6 เท่าของจำนวนอากร หรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
- กรณีที่ไม่ปิดอากรเลย ต้องเสียเงินเพิ่มอากรเป็น 6 เท่าของจำนวนอากร หรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
นอกจากค่าปรับเรื่องการยื่นภาษีประเภทต่างๆ ล่าช้าแล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่นิติบุคคลต้องพึงระวังนั่นก็คือค่าปรับจากการส่งงบการเงินล่าช้า โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
- ค่าปรับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์หรือ หมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ซึ่งต้องยื่นภายใน 5 เดือน ตามเกณฑ์แล้วต้องยื่นภายใน 1 เดือน นับจากวันประชุมผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยต้องประชุมภายใน 4 เดือน จึงนับยาวรวมกันเป็น 5 เดือน ดังนั้นงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี จะต้องยื่นภายในวันที่ 31พฤษภาคมของปีถัดไป
1.1 อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน
ลำดับที่ | ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | กรรมการผู้จัดการ/
หุ้นส่วนผู้จัดการ |
รวม |
1 | ทุกประเภท ยกเว้นกิจการร่วมค้า | 600 | 600 | 1,200 |
2 | กิจการร่วมค้า | 600 | – | 600 |
1.2 อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน
ลำดับที่ | ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | กรรมการผู้จัดการ/
หุ้นส่วนผู้จัดการ |
รวม |
1 | ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน | 1,200 | 1,200 | 2,400 |
2 | บริษัทจำกัด | 2,400 | 2,400 | 4,800 |
3 | นิติบุคคลต่างประเทศ | 6,000 | 6,000 | 12,000 |
4 | บริษัทมหาชนจำกัด | 12,000 | 12,000 | 24,000 |
5 | กิจการร่วมค้า | 6,000 | – | 6,000 |
1.3 อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 4 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน
ลำดับที่ | ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | กรรมการผู้จัดการ/
หุ้นส่วนผู้จัดการ |
รวม |
1 | ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน | 2,400 | 2,400 | 4,800 |
2 | บริษัทจำกัด | 4,800 | 4,800 | 9,600 |
3 | นิติบุคคลต่างประเทศ | 12,000 | 12,000 | 24,000 |
4 | บริษัทมหาชนจำกัด | 24,000 | 24,000 | 48,000 |
5 | กิจการร่วมค้า | 12,000 | – | 12,000 |
1.4 อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป หรือไม่ยื่นงบการเงิน
ลำดับที่ | ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | กรรมการผู้จัดการ/
หุ้นส่วนผู้จัดการ |
รวม |
1 | ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน | 3,600 | 3,600 | 7,200 |
2 | บริษัทจำกัด | 6,000 | 6,000 | 12,000 |
3 | นิติบุคคลต่างประเทศ | 18,000 | 18,000 | 36,000 |
4 | บริษัทมหาชนจำกัด | 36,000 | 36,000 | 72,000 |
5 | กิจการร่วมค้า | 18,000 | – | 18,000 |
- ค่าปรับจากกรมสรรพากร กรณียื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 50 สำหรับภาษีสำหรับรอบบัญชีที่ต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดบัญชี แบ่งเป็นค่าปรับและเงินเพิ่ม ดังนี้
2.1 ค่าปรับเงินเพิ่มภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50, ภงด.51) กรณียื่นเกินกำหนดเวลา
- กรณียื่นเกินกำหนดเวลาภายใน 7 วัน ค่าปรับแบบ 1,000 บาท
- กรณียื่นเกินกำหนดเวลามากกว่า 7 วัน ค่าปรับแบบ 2,000 บาท
- กรณียื่นงบการเงินเกินกำหนดเวลา ค่าปรับ 2,000 บาท พร้อมทั้งชำระเงินเพิ่ม
2.2 เงินเพิ่ม คำนวณจากยอดต้องชำระ (ถ้ามี) * 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
อีกสิ่งที่นิติบุคคลต้องละเลยไม่ได้นั่นก็คือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการบัญชี ประจำปี 2543 ซึ่งมีค่าปรับสำหรับการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆ ดังนี้
ลำดับที่ | ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | จำนวนค่าปรับ | ผู้รับโทษ |
1 | ไม่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัติ กำหนดและตามวันเริ่มทำบัญชีที่กำหนด | 30,000 และค่าปรับอีกวันละ 1,000 บาท | ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี |
2 | ไม่จัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงิน ภายในเวลาที่กำหนด |
50,000 | ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี |
3. | ไม่จัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบ และ แสดงความเห็นโดย ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต |
20,000 | ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี |
4. | ไม่ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบ การลงบัญชี ให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้อง |
10,000 | ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี |
5. | ไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มี คุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด |
10,000 | ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี |
6. | ไม่จัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผล การดำเนินงาน ฐานะการเงินหรือ การเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน ตามความเป็นจริง และตามมาตรฐาน การบัญชี |
10,000 | ผู้กระทำความผิด |
การเรียนรู้เรื่องภาษีนิติบุคคลถือเป็นสิ่งจำเป็นของนิติบุคคลและผู้ที่ประกอบธุรกิจ เช่นเดียวกับการวางแผนธุรกิจ หากวางแผนภาษีดี หรือมีที่ปรึกษาภาษี ที่ปรึกษาบัญชี หรือมีสำนักงานบัญชีคุณภาพที่ดีไว้คอยให้คำแนะนำ ก็รับรองได้ว่าภาษีทุกเม็ดจะไม่มีค่าปรับเข้ามากล้ำกรายอย่างแน่นอน