ความสำคัญของอัตราส่วนทางการเงิน
(Ratio Analysis)
(โดย ธนเดช มหโภไคย ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย)
การวิเคราะห์งบการเงินเป็นการเปรียบเทียบหาความสัมธ์ระหว่างรายงานในงบการเงินสำหรับระยะเวลาหนึ่งโดยแสดงในรูปสัดส่วนหรืออัตราร้อยละ ผลการคำนวณที่ได้โดยตัวมันเองไม่ได้ให้ความหมายอะไรมากนัก แต่จะนำมาแปลความและใช้ประโยชน์ได้ด้วยการเปรียบเทียบ
แนวคิดของอัตราส่วนทางการเงินคือวิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบ
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน งบการเงินเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ถ้าจะเอาเพียงตัวเลขมามันไม่นิ่ง และกิจการที่มีความแตกต่างกันก็ดูยาก อัตราส่วนทางการเงินเป็นตัวเลขที่เป็นสัดส่วนของ ตัวย่อยตัวเลขในงบให้เป็นมาตรฐานกลางเพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ การวัดมี 3 แบบ (เปอร์เซ็นต์, สัดส่วน(อัตราส่วน), ดัชนี) แต่ที่นิยมและมีประสิทธิภาพคืออัตราส่วนทางการเงิน
ประโยชน์วิเคราะห์งบด้วยอัตราส่วน
1.ปรับตัวเลขในงบการเงินให้เป็นค่ามาตรฐานเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกิจการเองในงวดนี้-งวดก่อน, ปีนี้-ปีก่อน เป็นการหาพัฒนาการของกิจการว่ามีอะไรดีขึ้น และเปรียบเทียบกับกิจการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เป็นการดูว่ากิจการเราอยู่ในระดับใด
2.เพื่อดูสัญญาณผลการปฏิบัติงาน ให้เห็นข้อดี ข้อเสียของกิจการ เพื่อการปรับปรุง
ประเภทของอัตราส่วนทางการเงินมี4ประเภท
1. อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและสร้างผลตอบแทน (Profitability ratios)
2. อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ (Activity ratios)
3. อัตราส่วนความสามารถในการก่อหนี้ (Leverage ratios)
4. อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity ratios)
และทฤษฏีDupont System
1.อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและสร้างผลตอบแทน(Profitability ratios)
1.1 อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)(%) = ขายสุทธิ – ต้นทุนขาย หรือ SALES – COGS / ขายสุทธิ SALES
= กำไรขั้นต้น หรือ Gross Profit /ขายสุทธิ SALES
เพื่อดูประสิทธิภาพการควบคุมต้นทุนสินค้าและบริการ ยิ่งสูงยิ่งดี
1.2 อัตรากำไรจากผลการดำเนินงาน(Operating Profit Margin)(%) = กำไรจากการดำเนินงาน(Operating Profit Margin) /ขายสุทธิ (SALES)
เพื่อดูประสิทธิภาพการควบคุมต้นทุนสินค้าและค่าใช้จ่ายในการบริหาร ยิ่งสูงยิ่งดี ( สำคัญมากที่สุดในทั้ง4อัตรา )
1.3 อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)(%) = กำไรสุทธิ (Net Profit) /ขายสุทธิ (SALES)
แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทในการทำกำไร หลังจากหักต้นทุนค่าใช้จ่ายรวมทั้งดอกเบี้ยและภาษีเงินได้หมดแล้ว ยิ่งสูงยิ่งดี
1.4 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA)(%) = กำไรสุทธิ (Net Profit) /สินทรัพย์รวม (Total Assets)
ยิ่งสูงยิ่งดี เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ธุรกิจใช้ในการดำเนินงาน ว่าให้ผลตอบแทนจากการดำเนินงานได้มากน้อยเพียงใด หากมีค่าสูง แสดงถึงการใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ การขยายกิจการโดยใช้เงินกู้ ให้เปรียบเทียบกับ ROA โดยROAควรมากกว่าอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย2%
1.5 ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE %) = กำไรสุทธิ (Net Profit) /ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity)
ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงให้เห็นว่าเงินลงทุนในส่วนของเจ้าของ จะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาจากการดำเนินการของกิจการนั้นในอัตราส่วนเท่าไร หากมีค่าสูง แสดงถึงประสิทธิภาพในการหากำไรสูงด้วย สำคัญที่สุดที่บอกว่ากิจการนั้นดีและมีผลตอบแทนจากการลงทุนสูง อัตราพอใช้คือ15% , ดีคือ20%, ดีมากคือมากกว่า30%
ข้อ1-3 แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไร
ข้อ4-5 แสดงให้เห็นว่าเงินที่ลงทุนนำไปสร้างผลตอบแทนได้มากแค่ไหน
2.อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์
2.1 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (Account Receivable Turnover)
อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)
= ขายเชื่อสุทธิ หรือใช้ยอดขายรวม (ครั้ง หรือ รอบ) /ลูกหนี้ถัว เฉลี่ย
ลูกหนี้ถัว เฉลี่ย = (ลูกหนี้ต้นงวด + ลูกหนี้ปลายงวด )/ 2
หากค่าที่คำนวณได้ มีค่าสูงยิ่งดี แสดงถึงความสามารถในการบริหารลูกหนี้ให้แปลงสภาพเป็นเงินสดได้เร็ว
2.2 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period)
ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Avg. Collection Period) (วัน) = 365 วัน /อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้
ยิ่งต่ำยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ว่าสั้นหรือยาว เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของลูกหนี้ ประสิทธิภาพในการเรียกเก็บหนี้ และนโยบายในการให้สินเชื่อทางธุรกิจ
โดยธุรกิจทั่วไปมักมีปัญหาเกี่ยวกับการเก็บหนี้กับลูกหนี้การค้าบ่อยที่สุดซึ่งอัตราส่วนคู่นี้เป็นตัววัดเฉพาะ กรณีระยะเวลาเก็บหนี้ยาวเกินไปจะแสดงให้เห็นว่าอาจเก็บหนี้ไม่ได้และเกิดหนี้สูญ
2.3 อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) = ต้นทุนสินค้าขาย (COGS) /สินค้าคงเหลือเฉลี่ย (Avg. Inventory)
สินค้าคงเหลือเฉลี่ย =( สินค้าต้นงวด + สินค้าปลายงวด )/ 2
หากค่าคำนวณได้สูง ย่อมแสดงถึงความสามารถในการบริหารการขายสินค้าได้เร็ว
2.4 ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า
ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า(วัน) = 365 (วัน) /อัตราหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover)
ยิ่งขายได้เร็ว (ระยะเวลาสั้น) ยิ่งดี
ระยะ เวลาเก็บรักษาสินค้าคงเหลือ (สะท้อนว่าตามเกณฑ์แล้วธุรกิจควรมีเก็บ Stock ไว้นานเท่าไหร่) โดยส่วนนี้ธุรกิจทั่วไปมักมีปัญหาเช่นกัน ซึ่งคู่นี้จะสะท้อนปัญหาที่ถูกแฝงไว้ กรณีที่การหมุนสินค้าคงเหลือน้อยจะทำให้สินค้าค้าสต็อคและสินค้าด้อยค่าเพิ่มขึ้น
อัตราการหมุนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
2.5 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวร (ROFA) = กำไรสุทธิ (Net Profit or NP) /รวมสินทรัพย์ถาวร (Fix Assets)
อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover)(ครั้ง) = ขายสุทธิ (SALES) /สินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset)
ยิ่งสูงยิ่งดี
2.6 อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover)
อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover) (ครั้งหรือเท่า) = ขายสุทธิ (SALES) /สินทรัพย์รวม (Total Assets)
จำนวนครั้งสูง ดี เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด (TA) เมื่อเทียบกับยอดขาย (SALES) ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำ แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์มากเกินความต้องการ ต้องสูงกว่า1 ถึงจะดี
3.อัตราส่วนเกี่ยวกับภาระหนี้
อัตราส่วนแห่งหนี้วัดขนาดของหนี้ของกิจการว่ามากน้อยแค่ไหน
3.1 อัตราส่วนเแห่งหนี้ (Debt Ratio)
= หนี้สินรวม /สินทรัพย์รวม
แสดงให้เห็นว่ากิจการนำเงินมาลงทุนจากการกุ้ยืมมากน้อยเพียงได้ สูงหนี้เยอะ,ต่ำหนี้น้อย
3.2 อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt/Equity Ratio) (เท่า) = หนี้สินรวม (Total Debt) /ส่วนของเจ้าของ (Equity)
ยิ่งต่ำ ยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงในด้านเจ้าหนี้และเจ้าของกิจการ ถ้าอัตราส่วนสูงแสดงว่า กิจการมีความเสี่ยงจากการกู้ยืมเงินมาใช้ในการดำเนินกิจการ เพื่อให้ทราบถึงแหล่งที่มาของเงินทุนว่ามาจากหนี้สินหรือส่วนของเจ้าของ ว่ามีมากน้อยเพียงใด
อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ดูสัดส่วนการใช้เงินระหว่างเจ้าของกับเจ้าหนี้)
อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย
3.3 ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage) (เท่า) = กำไรสุทธิก่อนภาษีและดอกเบี้ย /ดอกเบี้ยจ่าย (Interest)
เป็นการวัดความสามารถของธุรกิจในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ผลคำนวณออกมามีค่าสูง แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูง ไม่ควรต่ำกว่า3เท่า
4.อัตราส่วนสภาพคล่อง
4.1 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio)
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน (CA) /หนี้สินหมุนเวียน (CL)
วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น ถ้าค่าที่คำนวณได้สูงเท่าใด แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่ประกอบไปด้วย เงินสด ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือมากกว่าหนี้ระยะสั้น ทำให้คล่องตัวในการชำระหนี้ระยะสั้นมีค่อนข้างมาก โดยปกติ อัตราส่วน1ดี 1.5ดีมาก สูงเกินไปไม่ดี ต่ำกว่า1ไม่ดีสภาพคล่องต่ำ
4.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio or Acid Test Ratio)
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ) /หนี้สินหมุนเวียน
หรือ( Quick Ratio = CA – Inventory )/CL
เป็นการวัดส่วนของสินทรัพย์ที่ได้หักค่าสินค้าคงเหลือ ที่เป็นสินทรัพย์ระยะสั้นและมีความคล่องตัวในการเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ต่ำสุดออก เพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องที่แท้จริงของกิจการได้ โดยปกติอัตราส่วน 1 : 1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว
Dupont System ( Dupont Equation )
ROE (%) = กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น สะท้อนกิจกรรมการดำเนินงาน
ROE (%) = กำไรสุทธิ / ยอดขาย X ยอดขาย / ส่วนของผู้ถือหุ้น สะท้อนกิจกรรมการลงทุน
ROE (%) = กำไรสุทธิ / ยอดขาย X ยอดขาย / สินทรัพย์รวม X สินทรัพย์รวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น สะท้อนกิจกรรมการจัดหาเงิน
ROE (%) = ROA X อัตราส่วนสินทรัพย์รวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น สะท้อนหาเงินได้จากหนี้
ทำให้เรารู้ว่า ROE ที่มากนั้นเกิดจากส่วนไหน จากการดำเนินงาน,จากการลงทุน,จากเงินผู้ถือหุ้นหรือจากการกู้ยืม
1.อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและสร้างผลตอบแทน(Profitability ratios) | ||
1.1 อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)(%) | สูงดี | แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไร |
1.2 อัตรากำไรจากผลการดำเนินงาน(Operating Profit Margin)(%) | สูงดี | แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไร |
1.3 อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)(%) | สูงดี | แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไร |
1.4 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA)(%) | สูงดี | นำเงินที่ลงทุนนำไปสร้างผลตอบแทนได้มากแค่ไหน มากกว่าอัตราดอกเบี้ย2% |
1.5 ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE %) | สูงดี | นำเงินที่ลงทุนนำไปสร้างผลตอบแทนได้มากแค่ไหน 15%ดีพอใช้,20%ดี,30%ดีมาก |
2.อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ | ||
2.1 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (Account Receivable Turnover) | สูงดี | สามารถแปรลูกหนี้เป็นเงินสดได้เร็จ |
2.2 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period) | ตำ่ดี | เก็บหนี้ได้เร็ว |
2.3 อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) | สูงดี | ขายได้เร็ว |
2.4 ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า | ตำ่ดี | สินค้าหมุนเร็ว |
2.5 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวร (ROFA) | สูงดี | แสดงถึงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพย์สิน |
2.6 อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover) | สูงดี | สูงกว่า1 ถึงจะดี |
3.อัตราส่วนเกี่ยวกับภาระหนี้ | ||
3.1 อัตราส่วนเแห่งหนี้ (Debt Ratio) | ต่ำดี | แสดงให้เห็นว่ากิจการนำเงินมาลงทุนจากการกุ้ยืมมากน้อยเพียงได้ สูงหนี้เยอะ,ต่ำหนี้น้อย |
3.2 อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt/Equity Ratio) (เท่า) | ตำ่ดี | แสดงให้เห็นว่าหนี้มาจากเจ้าของ |
3.3 ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage) (เท่า) | สูงดี | ไม่ควรต่ำกว่า3เท่า |
4.อัตราส่วนสภาพคล่อง | ||
4.1 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) | 1ดี 1.5ดีมาก สูงเกินไปไม่ดี ต่ำกว่า1ไม่ดีสภาพคล่องต่ำ | |
4.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio or Acid Test Ratio) | 1 : 1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว | |
Dupont System | ทำให้รู้ว่าROEที่สูงได้มาจากกิจกรรมไหน | |
ROE (%) = กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น | สะท้อนกิจกรรมการดำเนินงาน | |
ROE (%) = กำไรสุทธิ / ยอดขาย X ยอดขาย / ส่วนของผู้ถือหุ้น | สะท้อนกิจกรรมการลงทุน | |
ROE (%) = กำไรสุทธิ / ยอดขาย X ยอดขาย / สินทรัพย์รวม X สินทรัพย์รวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น | สะท้อนกิจกรรมการจัดหาเงิน | |
ROE (%) = ROA X อัตราส่วนสินทรัพย์รวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น | สะท้อนหาเงินได้จากหนี้ |
ระยะเวลาการเก็บหนี้นานขึ้นขาดทุนมากๆ และติดต่อกันหลายปีสัญญาณเตือนภัยจากการวิเคราะห์งบการเงิน
- อัตราหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของสูงขึ้นเร็วมาก
- สินค้าคงคลังสูงมากผิดปกติ
- ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
- ยอดขายสูงขึ้น แต่กำไรลดลง
- หนี้สูญเพิ่มขึ้น
- รายงานผู้สอบบัญชีผิดปกติ เปลี่ยนผู้สอบบัญชีใหม่
- ขายสินทรัพย์ของบริษัท เพื่อสร้างกำไรให้เข้าเป้าในระยะสั้น
ที่ บริษัทสกอลาร์ แอคเคาท์ติ้ง เรามีข้อมูลอัตราส่วนของท่านพร้อมรายงานการวิเคราะห์ รวมถึงข้อมูลภาพรวมของธุรกิจของท่าน เพื่อท่านจะได้นำไปวางแผนทางการบริหาร,การเงิน ตลอดจน เตรียมตัวเพื่อการขอสินเชื่อของแหล่งเงินทุน
ขอข้อมูลได้แล้ววันนี้ ที่เจ้าหน้าที่บัญชีผู้ดูแลทุกท่าน โทร 02 1845136