อัตราส่วนทางการเงิน ข้อมูลที่SMEs ต้องรู้เพื่อการวางแผนและวิเคราะห์

ความสำคัญของอัตราส่วนทางการเงิน

(Ratio Analysis)

(โดย ธนเดช มหโภไคย ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย)

การวิเคราะห์งบการเงินเป็นการเปรียบเทียบหาความสัมธ์ระหว่างรายงานในงบการเงินสำหรับระยะเวลาหนึ่งโดยแสดงในรูปสัดส่วนหรืออัตราร้อยละ ผลการคำนวณที่ได้โดยตัวมันเองไม่ได้ให้ความหมายอะไรมากนัก แต่จะนำมาแปลความและใช้ประโยชน์ได้ด้วยการเปรียบเทียบ

 

แนวคิดของอัตราส่วนทางการเงินคือวิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบ

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน งบการเงินเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ถ้าจะเอาเพียงตัวเลขมามันไม่นิ่ง และกิจการที่มีความแตกต่างกันก็ดูยาก อัตราส่วนทางการเงินเป็นตัวเลขที่เป็นสัดส่วนของ ตัวย่อยตัวเลขในงบให้เป็นมาตรฐานกลางเพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ การวัดมี 3 แบบ (เปอร์เซ็นต์, สัดส่วน(อัตราส่วน), ดัชนี) แต่ที่นิยมและมีประสิทธิภาพคืออัตราส่วนทางการเงิน

 

ประโยชน์วิเคราะห์งบด้วยอัตราส่วน

1.ปรับตัวเลขในงบการเงินให้เป็นค่ามาตรฐานเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกิจการเองในงวดนี้-งวดก่อน, ปีนี้-ปีก่อน เป็นการหาพัฒนาการของกิจการว่ามีอะไรดีขึ้น และเปรียบเทียบกับกิจการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เป็นการดูว่ากิจการเราอยู่ในระดับใด

2.เพื่อดูสัญญาณผลการปฏิบัติงาน ให้เห็นข้อดี ข้อเสียของกิจการ เพื่อการปรับปรุง

ประเภทของอัตราส่วนทางการเงินมี4ประเภท

1. อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและสร้างผลตอบแทน (Profitability ratios)

2. อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ (Activity ratios)

3. อัตราส่วนความสามารถในการก่อหนี้ (Leverage ratios)

4. อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity ratios)

และทฤษฏีDupont System



1.อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและสร้างผลตอบแทน(Profitability ratios)

1.1 อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)(%) = ขายสุทธิ – ต้นทุนขาย หรือ SALES – COGS / ขายสุทธิ SALES

= กำไรขั้นต้น หรือ Gross Profit /ขายสุทธิ SALES

เพื่อดูประสิทธิภาพการควบคุมต้นทุนสินค้าและบริการ ยิ่งสูงยิ่งดี

1.2 อัตรากำไรจากผลการดำเนินงาน(Operating Profit Margin)(%) = กำไรจากการดำเนินงาน(Operating Profit Margin) /ขายสุทธิ (SALES)

เพื่อดูประสิทธิภาพการควบคุมต้นทุนสินค้าและค่าใช้จ่ายในการบริหาร ยิ่งสูงยิ่งดี ( สำคัญมากที่สุดในทั้ง4อัตรา )

1.3 อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)(%) = กำไรสุทธิ (Net Profit) /ขายสุทธิ (SALES)

แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทในการทำกำไร หลังจากหักต้นทุนค่าใช้จ่ายรวมทั้งดอกเบี้ยและภาษีเงินได้หมดแล้ว ยิ่งสูงยิ่งดี

1.4 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA)(%) = กำไรสุทธิ (Net Profit) /สินทรัพย์รวม (Total Assets)

ยิ่งสูงยิ่งดี เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ธุรกิจใช้ในการดำเนินงาน ว่าให้ผลตอบแทนจากการดำเนินงานได้มากน้อยเพียงใด หากมีค่าสูง แสดงถึงการใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ การขยายกิจการโดยใช้เงินกู้ ให้เปรียบเทียบกับ ROA โดยROAควรมากกว่าอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย2%

1.5 ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE %) = กำไรสุทธิ (Net Profit) /ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity)

ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงให้เห็นว่าเงินลงทุนในส่วนของเจ้าของ จะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาจากการดำเนินการของกิจการนั้นในอัตราส่วนเท่าไร หากมีค่าสูง แสดงถึงประสิทธิภาพในการหากำไรสูงด้วย สำคัญที่สุดที่บอกว่ากิจการนั้นดีและมีผลตอบแทนจากการลงทุนสูง อัตราพอใช้คือ15% , ดีคือ20%, ดีมากคือมากกว่า30%

ข้อ1-3 แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไร

ข้อ4-5 แสดงให้เห็นว่าเงินที่ลงทุนนำไปสร้างผลตอบแทนได้มากแค่ไหน


 

 

2.อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์

2.1 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (Account Receivable Turnover)

อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)

= ขายเชื่อสุทธิ หรือใช้ยอดขายรวม (ครั้ง หรือ รอบ) /ลูกหนี้ถัว เฉลี่ย

ลูกหนี้ถัว เฉลี่ย = (ลูกหนี้ต้นงวด + ลูกหนี้ปลายงวด )/ 2

หากค่าที่คำนวณได้ มีค่าสูงยิ่งดี แสดงถึงความสามารถในการบริหารลูกหนี้ให้แปลงสภาพเป็นเงินสดได้เร็ว

2.2 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period)

ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Avg. Collection Period) (วัน) = 365 วัน /อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้

ยิ่งต่ำยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ว่าสั้นหรือยาว เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของลูกหนี้ ประสิทธิภาพในการเรียกเก็บหนี้ และนโยบายในการให้สินเชื่อทางธุรกิจ

โดยธุรกิจทั่วไปมักมีปัญหาเกี่ยวกับการเก็บหนี้กับลูกหนี้การค้าบ่อยที่สุดซึ่งอัตราส่วนคู่นี้เป็นตัววัดเฉพาะ กรณีระยะเวลาเก็บหนี้ยาวเกินไปจะแสดงให้เห็นว่าอาจเก็บหนี้ไม่ได้และเกิดหนี้สูญ


 

2.3 อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)

อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) = ต้นทุนสินค้าขาย (COGS) /สินค้าคงเหลือเฉลี่ย (Avg. Inventory)

สินค้าคงเหลือเฉลี่ย =( สินค้าต้นงวด + สินค้าปลายงวด )/ 2

หากค่าคำนวณได้สูง ย่อมแสดงถึงความสามารถในการบริหารการขายสินค้าได้เร็ว

2.4 ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า

ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า(วัน) = 365 (วัน) /อัตราหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover)

ยิ่งขายได้เร็ว (ระยะเวลาสั้น) ยิ่งดี

ระยะ เวลาเก็บรักษาสินค้าคงเหลือ (สะท้อนว่าตามเกณฑ์แล้วธุรกิจควรมีเก็บ Stock ไว้นานเท่าไหร่) โดยส่วนนี้ธุรกิจทั่วไปมักมีปัญหาเช่นกัน ซึ่งคู่นี้จะสะท้อนปัญหาที่ถูกแฝงไว้ กรณีที่การหมุนสินค้าคงเหลือน้อยจะทำให้สินค้าค้าสต็อคและสินค้าด้อยค่าเพิ่มขึ้น

 

อัตราการหมุนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

2.5 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวร (ROFA) = กำไรสุทธิ (Net Profit or NP) /รวมสินทรัพย์ถาวร (Fix Assets)

อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover)(ครั้ง) = ขายสุทธิ (SALES) /สินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset)

ยิ่งสูงยิ่งดี

2.6 อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover)

อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover) (ครั้งหรือเท่า) = ขายสุทธิ (SALES) /สินทรัพย์รวม (Total Assets)

จำนวนครั้งสูง ดี เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด (TA) เมื่อเทียบกับยอดขาย (SALES) ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำ แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์มากเกินความต้องการ ต้องสูงกว่า1 ถึงจะดี

3.อัตราส่วนเกี่ยวกับภาระหนี้

อัตราส่วนแห่งหนี้วัดขนาดของหนี้ของกิจการว่ามากน้อยแค่ไหน

3.1 อัตราส่วนเแห่งหนี้ (Debt Ratio)

= หนี้สินรวม /สินทรัพย์รวม

แสดงให้เห็นว่ากิจการนำเงินมาลงทุนจากการกุ้ยืมมากน้อยเพียงได้ สูงหนี้เยอะ,ต่ำหนี้น้อย

3.2 อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt/Equity Ratio) (เท่า) = หนี้สินรวม (Total Debt) /ส่วนของเจ้าของ (Equity)

ยิ่งต่ำ ยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงในด้านเจ้าหนี้และเจ้าของกิจการ ถ้าอัตราส่วนสูงแสดงว่า กิจการมีความเสี่ยงจากการกู้ยืมเงินมาใช้ในการดำเนินกิจการ เพื่อให้ทราบถึงแหล่งที่มาของเงินทุนว่ามาจากหนี้สินหรือส่วนของเจ้าของ ว่ามีมากน้อยเพียงใด

อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ดูสัดส่วนการใช้เงินระหว่างเจ้าของกับเจ้าหนี้)

อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย

3.3 ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage) (เท่า) = กำไรสุทธิก่อนภาษีและดอกเบี้ย /ดอกเบี้ยจ่าย (Interest)

เป็นการวัดความสามารถของธุรกิจในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ผลคำนวณออกมามีค่าสูง แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูง ไม่ควรต่ำกว่า3เท่า

4.อัตราส่วนสภาพคล่อง

4.1 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio)

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน (CA) /หนี้สินหมุนเวียน (CL)

วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น ถ้าค่าที่คำนวณได้สูงเท่าใด แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่ประกอบไปด้วย เงินสด ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือมากกว่าหนี้ระยะสั้น ทำให้คล่องตัวในการชำระหนี้ระยะสั้นมีค่อนข้างมาก โดยปกติ อัตราส่วน1ดี 1.5ดีมาก สูงเกินไปไม่ดี ต่ำกว่า1ไม่ดีสภาพคล่องต่ำ

4.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio or Acid Test Ratio)

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ) /หนี้สินหมุนเวียน

หรือ( Quick Ratio = CA – Inventory )/CL

เป็นการวัดส่วนของสินทรัพย์ที่ได้หักค่าสินค้าคงเหลือ ที่เป็นสินทรัพย์ระยะสั้นและมีความคล่องตัวในการเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ต่ำสุดออก เพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องที่แท้จริงของกิจการได้ โดยปกติอัตราส่วน 1 : 1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว

Dupont System ( Dupont Equation )

ROE (%) = กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น สะท้อนกิจกรรมการดำเนินงาน

ROE (%) = กำไรสุทธิ / ยอดขาย X ยอดขาย / ส่วนของผู้ถือหุ้น สะท้อนกิจกรรมการลงทุน

ROE (%) = กำไรสุทธิ / ยอดขาย X ยอดขาย / สินทรัพย์รวม X สินทรัพย์รวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น สะท้อนกิจกรรมการจัดหาเงิน

ROE (%) = ROA X อัตราส่วนสินทรัพย์รวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น สะท้อนหาเงินได้จากหนี้

ทำให้เรารู้ว่า ROE ที่มากนั้นเกิดจากส่วนไหน จากการดำเนินงาน,จากการลงทุน,จากเงินผู้ถือหุ้นหรือจากการกู้ยืม

 

key_financial_ratio

 

1.อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรและสร้างผลตอบแทน(Profitability ratios)
1.1 อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)(%) สูงดี แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไร
1.2 อัตรากำไรจากผลการดำเนินงาน(Operating Profit Margin)(%) สูงดี แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไร
1.3 อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)(%) สูงดี แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไร
1.4 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA)(%) สูงดี นำเงินที่ลงทุนนำไปสร้างผลตอบแทนได้มากแค่ไหน มากกว่าอัตราดอกเบี้ย2%
1.5 ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE %) สูงดี นำเงินที่ลงทุนนำไปสร้างผลตอบแทนได้มากแค่ไหน 15%ดีพอใช้,20%ดี,30%ดีมาก
2.อัตราส่วนความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์
2.1 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (Account Receivable Turnover) สูงดี สามารถแปรลูกหนี้เป็นเงินสดได้เร็จ
2.2 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period) ตำ่ดี เก็บหนี้ได้เร็ว
2.3 อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) สูงดี ขายได้เร็ว
2.4 ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า ตำ่ดี สินค้าหมุนเร็ว
2.5 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวร (ROFA) สูงดี แสดงถึงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพย์สิน
2.6 อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover) สูงดี สูงกว่า1 ถึงจะดี
3.อัตราส่วนเกี่ยวกับภาระหนี้
3.1 อัตราส่วนเแห่งหนี้ (Debt Ratio) ต่ำดี แสดงให้เห็นว่ากิจการนำเงินมาลงทุนจากการกุ้ยืมมากน้อยเพียงได้ สูงหนี้เยอะ,ต่ำหนี้น้อย
3.2 อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt/Equity Ratio) (เท่า) ตำ่ดี แสดงให้เห็นว่าหนี้มาจากเจ้าของ
3.3 ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage) (เท่า) สูงดี  ไม่ควรต่ำกว่า3เท่า
4.อัตราส่วนสภาพคล่อง
4.1 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) 1ดี 1.5ดีมาก สูงเกินไปไม่ดี ต่ำกว่า1ไม่ดีสภาพคล่องต่ำ
4.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio or Acid Test Ratio) 1 : 1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว
Dupont System ทำให้รู้ว่าROEที่สูงได้มาจากกิจกรรมไหน
ROE (%) = กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น สะท้อนกิจกรรมการดำเนินงาน
ROE (%) = กำไรสุทธิ / ยอดขาย X ยอดขาย / ส่วนของผู้ถือหุ้น สะท้อนกิจกรรมการลงทุน
ROE (%) = กำไรสุทธิ / ยอดขาย X ยอดขาย / สินทรัพย์รวม X สินทรัพย์รวม / ส่วนของผู้ถือหุ้น สะท้อนกิจกรรมการจัดหาเงิน
ROE (%) = ROA X อัตราส่วนสินทรัพย์รวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น สะท้อนหาเงินได้จากหนี้

ระยะเวลาการเก็บหนี้นานขึ้นขาดทุนมากๆ และติดต่อกันหลายปีสัญญาณเตือนภัยจากการวิเคราะห์งบการเงิน

  1. อัตราหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของสูงขึ้นเร็วมาก
  2. สินค้าคงคลังสูงมากผิดปกติ
  3. ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
  4. ยอดขายสูงขึ้น แต่กำไรลดลง
  5. หนี้สูญเพิ่มขึ้น
  6. รายงานผู้สอบบัญชีผิดปกติ เปลี่ยนผู้สอบบัญชีใหม่
  7. ขายสินทรัพย์ของบริษัท เพื่อสร้างกำไรให้เข้าเป้าในระยะสั้น

ที่ บริษัทสกอลาร์ แอคเคาท์ติ้ง เรามีข้อมูลอัตราส่วนของท่านพร้อมรายงานการวิเคราะห์ รวมถึงข้อมูลภาพรวมของธุรกิจของท่าน  เพื่อท่านจะได้นำไปวางแผนทางการบริหาร,การเงิน ตลอดจน เตรียมตัวเพื่อการขอสินเชื่อของแหล่งเงินทุน
ขอข้อมูลได้แล้ววันนี้ ที่เจ้าหน้าที่บัญชีผู้ดูแลทุกท่าน โทร 02 1845136