“บุญคลี ปลั่งศิริ” เปลือยหมดเปลือก จากกุนซือ”ทักษิณ” สู่ “พี่เลี้ยง”ทายาทเจ้าสัว”เจริญ”

จะมีสักกี่ครั้งที่คนระดับ“ซีอีโอ”ผู้ยิ่งใหญ่อดีตขุนพลคู่ใจ“ทักษิณ ชินวัตร”

 

และคนที่แม้แต่”เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี“ไว้ใจให้มาเป็น”ที่ปรึกษา”ซึ่งมีหน้าที่หลักในการถ่ายทอดวิทยายุทธให้กับเขยคนเล็ก“อัศวิน เตชะเจริญวิกุล”ที่จำเป็นต้องก้าวขึ้นมารับตำแหน่ง”ซีอีโอ”ตั้งแต่อายุยังน้อย

 

จะยอมมา“เปลือยหมดเปลือก“กับงานเบื้องหลังในตำแหน่ง“มือปืนรับจ้าง”ตลอดช่วงชีวิตการทำงานกว่า 20 ปี

จะมีสักกี่ครั้งที่คนระดับ“ซีอีโอ”ที่เก่งกาจอย่างหาตัวจับยาก จะมาเผยความสัมพันธ์อันลี้ลับ บนโต๊ะทำงาน 2 ต่อ 2 ระหว่าง”ประธานบริษัท” ซึ่งเป็น“เจ้าของกิจการ”กับ”ซ๊อีโอ” ซึ่งเป็น”มือปืนรับจ้าง” หรือ“นักบริหารมืออาชีพ”

จะมีสักกี่ครั้งที่จะคนระดับ“ซีอีโอ”ผู้คร่ำหวอดจะเปิดเคล็บลับ”สอนมวย” และ”แท็กติก”การคุมเชิงอย่างเปิดใจให้กับ“ซีอีโอ”หัดใหม่ที่กำลังก้าวเดิน

วันนี้นับเป็นโอกาสอันนี้ดีที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) จัดงาน”Bualuang SMART Family Enterprise กับครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่นักบริหารมืออาชีพกับเจ้าของกิจการมาร่วมกันเผยเคล็ดลับกับการสร้างวิสาหกิจครอบครัวให้เติบโตอย่างยั่งยืน”

และได้เชิญ“บุญคลี ปลั่งศิริ”อดีตประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) และที่ปรึกษา บริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ ของ”เสี่ยเจริญ” ได้รับเชิญมาเสวนาในหัวข้อ“นักบริหารกับเจ้าของสองประสานเพื่อธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน”

สัจจะธรรมที่“บุญคลี่” มองต่างมุมกับหลายสถาบันการศึกษาในปัจจุบันที่พยายามผลักดัน อยากให้”เจ้าของธุรกิจ”ขึ้นมาเป็น“ผู้บริหารกิจการ” ว่า “เป็นไปไม่ได้”

“องค์กรที่มีเจ้าของอย่างเดียวเติบโตไปได้เพียงจุดหนึ่งเท่านั้น ขณะที่องค์กรที่มีแต่มืออาชีพอย่างเดียวไม่มีเจ้าของก็เติบโตได้ช้า แต่คน 2 พันธุ์นี้ต้องอยู่ด้วยกัน”
การทำงานกับธุรกิจที่มีเจ้าของมีอะไรนอกระบบอยู่เรื่อย เด็กรุ่นใหม่ อาจไม่ชอบไม่มีระบบ ไม่มีขั้นตอน ความไม่มีระบบ ทำให้ค่าตอบแทนไม่มีระบบด้วย มันมีอะไรตื่นเต้นที่ผมชอบสิ่งเหล่านี้
“เจ้าของ”ต้องการ“หลงจู๊” แต่ต้องเป็น“หลงจู๊”ที่อินเตอร์เนเชั่นแนล ต้องพัฒนา
ที่สำคัญ“บุญคลี”วิเคราะห์ว่า ความสัมพันธ์เจ้าของและผู้บริหารมืออาชีพเป็นความสัมพันธ์ที่ลี้ลับ ไม่เคยออกมาพูดเปิดเผย ไม่เคยออกมาพูดกันบนโต๊ะ เห็นชัดว่า เราเป็นอย่างไร และไม่เคยถูกแชร์ข้ามไปสู่องค์กรหนึ่งสู่อีกองค์กรหนึ่ง
“ถ้าผมเป็นมืออาชีพ ผมทำงานกับเจ้าของ ผมมีปัญหา ผมจะเก็บไว้เป็นความลับ ผมไม่กล้าไปแชร์กับคนอื่น ขณะที่เจ้าของกิจการอาจจะแชร์กัน แต่มืออาชีพไม่แชร์”
สิ่งเหล่านี้ไม่ได้รับการพัฒนา ไม่มีเคยศึกษาว่า รูปแบบความสัมพันธ์ลักษณะนี้มีกี่รูปแบบ และรูปแบบใด น่าจะนำไปสู่ความสำเร็จมากที่สุด และเหมาะสมกับสังคมไทยมากที่สุด
ความสัมพันธ์นี้ต้องถูกพัฒนา และยกระดับความสัมพันธุ์นี้ขึ้นมาให้ความสัมพันธ์นี้เติบโตและสอดคล้องไปกับธุรกิจ
และถ้าความสัมพันธ์ของ 2 ฝ่ายนี้ ไปได้และสอดคล้องไปกับการพัฒนาการของธุรกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืน
แต่วันนี้“บุญคลี”จะมาเปิดหมดเปลือก ถอดบทเรียน เพื่อสะท้อนให้เห็นบทบาทของมือปืนรับจ้าง ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จและผงาดได้อย่างเช่นซีอีโอคนเก่งในวันนี้
และหากใครอยากทราบว่า มือปืนรับจ้างมีกี่ประเภท และเจ้าของกิจการมีกี่สายพันธุ์ โปรดติตามตอนต่อไป ที่นี่!!